เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ๒ ช้ัน - วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ งานศรีศตวรรษวิเศษ ครูประเวช กุมุท

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 19 сен 2024
  • เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ๒ ช้ัน - วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ งานศรีศตวรรษวิเศษ ครูประเวช กุมุท
    องก์ที่ ๒
    เรืองระบิลสังคีต
    วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ๒ ช้ัน
    พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก) ครูผู้ควบคุมวงวงปี่พาทย์ประจำบ้าน
    ของสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้แต่งทำนองเพลงขึ้นเพลงหนึ่ง เป็นอัตรา
    ๒ ชั้น โดยเลียนแบบทำนองเพลงเต่ากินผักบุ้ง แต่ให้วิจิตรพิสดารด้วยลีลา และเม็ดพราย
    ยิ่งกว่า พร้อมทั้งสอดแทรกทำนองมอญให้มีท่วงทีน่าฟังยิ่งขึ้น เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหา
    ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ฟังก็เป็นที่โปรดปรานและประทานชื่อว่า “เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง”
    ตามสร้อยแห่งราชทินนาม และตราสุริยมณฑลอันเป็นดวงตราประจำตำแหน่งของท่าน
    เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์
    บทเสภาเรื่องพญาราชวังสัน ซึ่งแปลงมาจากเรื่องโอเทลโล ของเชกสเปียร์ที่ทรงพระราชนิพนธ์
    เป็นบทละคอนไว้แล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ให้เป็นบทสำหรับขับถวายเวลาทรงพระเครื่องใหญ่
    และงานเลี้ยงบางโอกาส โดยมีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
    เป็นผู้ถวายคำแนะนำในการบรรจุเพลงร้องตามแบบแผนของเสภา ในเรื่องพญาราชวังสันนี้
    มีอยู่ตอนหนึ่ง ซึ่งเป็น “อัศจรรย์” ระหว่างพระยาราชวังสัน (โอเทลโล) กับนางบัวผัน
    (เด็สเดโมนา) พระยาประสานดุริยศัพท์ ถวายทูลความเห็นว่า ควรบรรจุเพลงอาทิตย์ชิงดวง
    เช่นกัน แต่เพลงนี้ต้องมีสร้อยและดอกต่อท้าย จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ดอกและสร้อย
    ต่อท้ายขึ้นตามแบบของเดิม บทร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงอันเป็นพระราชนิพนธ์บทนี้
    เป็นบทที่นิยมกันมากในสมัยปัจจุบัน
    เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ๒ ชั้นนี้ เป็นเพลงหนึ่งในเพลงที่สร้างชื่อของครูประเวช
    โดยคุณครูขับร้องบันทึกแผ่นเสียงของกรมศิลปากร ซึ่งคุณครูมีแนวทางการขับร้องที่ไพเราะ
    มีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนนักร้องท่านอื่น ถือเป็นผลงานชิ้นเอกอีกชิ้นที่สร้างชื่อให้กับครู
    งานมหกรรมดนตรีในครั้งนี้ คุณชินภัทร ชุณหวิริยะกุล จะเป็นผู้ขับร้อง โดยได้รับการถ่ายทอด
    กลวิธีการขับร้องจากครูทัศนีย์ ขุนทอง ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งครูทัศนีย์นั้นเป็นศิษย์คนสำคัญ
    ของคุณครูประเวช ที่ได้สืบทอดทางขับร้องของคุณครูประเวชไว้มากมาย และได้รับ
    ความอนุเคราะห์จากคณาจารย์ และนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    มาบรรเลงปี่พาทย์ไม้แข็งรับร้องในครั้งนี้
    บทขับร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ๒ ชั้น
    เรื่อยเรื่อยภุมรินบินว่อน เกลือกเกสรบัวทองผ่องใส
    รื่นรื่นรสสุคนธ์ปนไป สองใจจ่อจิตสนิทนอน
    ดอกเอย เจ้าดอกบัวผัน
    บุหงาสวรรค์ ของเรียมนี่เอย
    เจ้าหน้านวลเอย
    เจ้าหน้านวลยวนใจให้พี่เชย ไม่ละไม่เลยไม่ลืมชม
    แม้ห่างอินทรีย์อกพี่ระบม อกตรอมอกตรมเสียจริงเอย
    เจ้าภุมรินเอยกลั้วกลิ่นบุปผา เกสรผกาไม่ราโรย
    จะคลึงจะเคล้าจะเฝ้าสงวน จะยั่วจะยวนเมื่อลมโชย
    จะกอบจะโกย กลิ่นไปเอย
    ดอกเอ๋ย เจ้าดอกโกมุท
    เจ้าแสนสวยสุด ของเรียมนี่เอย
    (พญาราชวังสัน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖)
    ขับร้อง ชินภัทร ชุณหวิริยะกุล
    ปี่ใน วิศรุต สุวรรณศรี
    ระนาดเอก พงศพิชญ์ แก้วกุลธร
    ระนาดทุ้ม วีระ พันธุ์เสือ
    ฆ้องวงใหญ่ คีตภัทร ศรีเกตุ
    ฆ้องวงเล็ก อวิรุทธ์ อ้นวงษา
    กลองสองหน้า บรรเลง ชิดท้วม
    เปิงมาง ทักษินาวัชฬ์ กลิ่นหอม
    ฉิ่ง วรัญญู รอดวินิจ
    ฉาบเล็ก คมชาญ แก้วนิล
    กรับ สวรรยา เทพพงษ์
    โหม่ง วิทวัส ศรีพุทธ
    ข้อมูลคำอธิบายเพลง
    ศิวัชญ์ สลิลรัตน์ กานต์ สุวรรณกิติ
    บรรลือ พงษ์ศิริ วิรัช สงเคราะห์
    ---------------------------------------
    คลิกอ่านชีวประวัติ ครูประเวช กุมุท และรายละเอียดสูจิบัตรฉบับเต็มได้ที่ลิงก์นี้
    drive.google.c...
    -----------------------------------
    เรียนเชิญรับชม
    มหกรรมการแสดงดนตรีไทย
    เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    "ศรีศตวรรษวิเศษ ครูประเวช กุมุท"
    ในวาระ ๑๐๐ ปีชาตกาล ครูประเวช กุมุท ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ.๒๕๓๒
    วันพุธที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗
    เวลา ๑๗.๐๐ น.
    หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

Комментарии • 1