ลำเตี้ยโนนทัน | นาฏยศิลป์พื้นเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 7 янв 2025

Комментарии •

  • @OFFICIAL-cx5ju
    @OFFICIAL-cx5ju 8 месяцев назад +1

    ดั่งชาวบ้านโนนทัน❤❤

  • @wichasonmee3678
    @wichasonmee3678 6 месяцев назад

    ขอสอบถามแหน่ที่มาที่ไปของลำนี่ครับ.....มักหลายยย

    • @OFFICIAL-cx5ju
      @OFFICIAL-cx5ju Месяц назад

      ลำเตี้ย เป็นการละเล่นในเทศกาลสงกรานต์ของชาวบ้านโนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น เริ่มขึ้นในช่วงประมาณปี2478 โดยนางนิ่มนวล สุวรรณกูฏ เป็นผู้ริเริ่ม นำหนุ่มสาวในหมู่บ้านเล่นเพื่อความสนุกสนานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลักษณะการละเล่นเหมือนกับเพลงปฏิพากย์ คือ เป็นการขับลำโต้ตอบระหว่างหญิงชาย ด้วยกลอนลำสั้นๆ ประกอบทำนองแคน ในบางช่วงจะมีการฟ้อนด้วยท่าย่อตัวให้ต่ำและยืดตัวเอนไปมา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อการละเล่นนี้ว่า "ลำเตี้ย" ซึ่งหมายถึงการขับลำ ประกอบการฟ้อนด้วยท่าเตี้ย นั่นเอง
      การลำเตี้ยของชาวบ้านโนนทันเริ่มเสื่อมความนิยมลงตามภาวะสังคม จนเหลือเพียงคนเฒ่าคนแก่ที่ยังจดจำได้ ขาดการสืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและต้องการอนุรักษ์ ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย คณะผู้วิจัย โดย อาจารย์วันดี พลทองสถิตย์ (หมอลำอุดมศิลป์) อาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยการสร้างสรรค์การแสดงชุดลำเตี้ยโนนทัน (The Creative Production of Lum Tiea Nontun Performance) โดยใช้การวิจัยแบบ ABR หรือ การวิจัยที่ใช้ศิลปะเป็นฐาน (Art-Based Research) ขึ้นมา เสนอต่อคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยปรับปรุงจากการละเล่นในเทศกาล เป็นการแสดงประกอบวงโปงลาง ใช้ผู้ฟ้อนชาย หญิงจำนวน 4-5 คู่ ชุดแต่งกายได้รับแรงบรรดาลใจจากแฟชั่นของชาวขอนแก่นยุค 60s ท่าฟ้อนปรับปรุงจากท่าดั้งเดิมคือ ท่าเตี้ย ท่าไล่ และท่าฟ้อนอิสระ ผสมผสานกับการฟ้อนรำวง และการเต้นรำ ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในขณะนั้น กลอนลำได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากนางนิ่มนวล สุวรรณกูฏ บรมครูลำเตี้ยผู้ล่วงลับ

  • @wichasonmee3678
    @wichasonmee3678 6 месяцев назад

  • @wichasonmee3678
    @wichasonmee3678 6 месяцев назад

    ไปสอนยุไสน้อครับ...