หริภุญชัย - ครูแอ๊ด ภานุทัต

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 18 янв 2025

Комментарии • 19

  • @ธนศักดิ์กากาศ

    คิดถึงทุกคนตอนแสดงที่วัดพระธาตุหริภุญชัย​ฯ❤😢😊

  • @หมูกะทะป่ะวันนี้

    เพลงประจำจังหวัดหละปูน​ เพราะขนาด

  • @ช้างน้อยน่ารัก-พ7ษ

    เพลงฟ้อนประจำจังหวัดหละปูน

  • @นรชัยปัญโญ
    @นรชัยปัญโญ 11 месяцев назад

    ม่วนๆ ครับ กึดเติงหาบ้านเกิดครับ

  • @danudolsupanamai5861
    @danudolsupanamai5861 Год назад +1

    #ให้น้องแม่ปทุมวดีรานีหมอหลิวนะ

  • @สาวโบราณ
    @สาวโบราณ 4 года назад +2

    ชอบขนาดเจ้า​ เหมือนได้ย้อนอดีตเลย

  • @totongsergei
    @totongsergei 9 лет назад +3

    ขอบคุณครับสำหรับเพลงเพราะๆๆ ฟังแล้วสบายใจดี

  • @sutpongsantijai6587
    @sutpongsantijai6587 6 лет назад +4

    ฟังเเล้วม่วนอกม่วนใจเเต้ๆเจ้า

  • @narongsakmaiify
    @narongsakmaiify 9 лет назад +13

    ฟ้อนหริภุญไชยและเพลงหริภุญไชย
    ฟ้อนหริภุญไชย เป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรกชัย มหัทธนะ-สิน (ทุย) อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗
    ประวัติความเป็นมา
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดิเรกชัย มหัทธนะสิน ขณะเป็นครูสอนฟ้อนรำล้านนาของชมรมนาฏศิลปและดนตรีไทย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ได้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนจากเพลงบรรเลงชื่อ เพลงหริภุญไชย ซึ่งแต่งโดยนายสุชาติ กันชัย (หนุ่ม) นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    แรกเริ่มเดิมทีนั้น นายสุชาติ กันชัย (ขณะนั้นเป็นสมาชิกของชมรมฯ) ได้คิดทำนองเพลง โดยอาศัยแนวทำนองจากเพลงบรรเลงชื่อเพลงเชียงแสน ซึ่งแต่งโดยครูมนตรี ตราโมทย์ แล้วออกแบบให้บุคลิกของเพลงให้มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นมอญหริภุญไชยกับความเป็นไทยวนบนแผ่นดินล้านนา โดยใช้ทำนองเพลง (Melody) สำเนียงมอญ ใช้เครื่องดนตรีสะล้อ- ซึงและจังหวะ (Rhythm) กลองตึ่งนง ของล้านนา แล้วมอบให้วงดนตรีพื้นเมืองคณะไกลบ้าน ซึ่งสังกัดชมรมนี้
    ความไพเราะและสง่างามของเพลงทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ได้สดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรกชัย ในฐานะครูสอนฟ้อนรำจึงคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นประกอบ โดยครั้งแรกได้ประดิษฐ์ประกอบเพลงท่อนแรก (ทำนองเพลงมี ๒ ท่อน) แล้วนำเสนอในงานวันเปิดโลกกิจกรรม ที่ตึกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตึก อ. มช.) การนำเสนอผ่านการแสดงของนักศึกษาสมาชิกของชมรมฯ ในครั้งนั้น เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ชมอย่างท่วมท้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรกชัยจึงได้ประดิษฐ์ท่ารำใหม่ให้ครบสมบูรณ์แล้วแสดงต่อมาในวันไหว้ครูของชมรมฯ ในปี พ.ศ. เดียวกัน
    ลีลาท่าฟ้อน
    ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ได้กำหนดให้ผู้แสดงก้าวเท้าตามจังหวะ โดยเน้นให้มีลีลาการฟ้อนผสมผสานกันถึงสามลีลาได้แก่ ลีลาล้านนา พม่า - มอญและลีลาไทย เมื่อได้ลีลาก็ให้ชื่อท่าจากการหารือร่วมกันจากศิษย์ทั้งสามคือนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ (สัน) นายณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม (ใหม่) และนายอิศรา ญาณตาล (กีตาร์)
    ซึ่งชื่อท่าฟ้อนมี ดังนี้
    "เบิกฟ้า ทอดผ้าหริภุญไชย เกรียงไกรสัตตบงกช
    ร่ายอริยศบารมี กั้งสัตถะหรู (ศัตรู) ข่มสูหื้ออยู่ใต้ฟ้า
    อุบลต้องเกิงกาง ซาบซ่านบารมี เบญจกัลยานี
    ศรีหลวงเวียง เพียงนางพญากราย โผดผายทศพิธ
    ราชธรรมวิวิธ สถิตเหนือปฐพี ฮ่วมขวัญกษัตรีย์
    เทวีแปงเมือง เมลืองวิลังคะพ่าย ชยะใจสมโภช
    นิโรธฮ้องขวัญ เอี้ยวหวันชุมสะหรี แสงระวี ส่องหล้า
    ไพร่ฟ้าหน้าใส หริภุญไชย ยั่งยืนเทอญ
    แต่ละชื่อก็ได้ อาจารย์นภาพร ขาวสะอาด จากโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ จังหวัดลำพูน ช่วยดูแลและปรับปรุงการวางมือวางเท้าศีรษะ ลำตัวตลอดจนการก้าวเท้าให้เหมาะสม โดยภาพรวมแล้วประมวลมาจากภาพลายปูนปั้นของนางฟ้า จากตุ๊กตาไม้แกะสลัก ธรรมาสน์และลีลาของพม่าและมอญ รวมแล้วได้ ๒๓ ท่ารำ
    สำหรับรูปแบบการแสดง จะจัดให้เป็นแถวตรงแถวเฉียง แถวหน้ากระดานและแถววงกลมสลับวนเวียนกับการวิ่งรับให้ดูสวยงาม การฟ้อนจะมีคนรำเป็นนางพญา โดดเด่น ซึ่งสังเกตได้จากการแต่งกายที่สง่างามกว่าคนอื่น ๆ กล่าวคือจะมีเครื่องประดับศีรษะ กรองคอ พาหุรัตและผ้าสไบปักดิ้นเลื่อมพรายสำหรับจำนวนผู้ฟ้อน จะประกอบด้วยผู้ฟ้อนอย่างน้อย ๔ คน
    การแต่งกาย
    การแต่งกายมีการออกแบบไว้ ๔ ลักษณะได้แก่ลักษณะแรก นุ่งผ้าซิ่นที่เลียนแบบผ้าซิ่นไทยองเชียงตุงที่ต่อตีนสูงคล้ายผ้าซิ่นในชุดฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตาที่ใช้สีทองอมชมพู ท่อนบนสวมเสื้อเกาะอกสีดำมีชายเสื้อพลิ้วเป็นระบาย มีสไบสีชมพูคล้องเฉียงไหล่ซ้ายไปพาดแขนด้านขวา และคาดเข็มขัดแบบห่วงทับเสื้อที่เอว ส่วนศีรษะมีดอกไม้เสียบพองาม
    ลักษณะที่สอง ผ้าสไบสีชมพูนั้น มีการนำผ้าโปร่งสีทองเย็บทับสีชมพูอีกที ที่แขนมีกำไลสวมมีสร้อยคำ สร้อยตัวและศีรษะมีการเสียบประดับด้วยดอกไม้ไหวสีทอง
    ลักษณะที่สาม มีการสวมกระบังหน้าเหมือนยุคทวาราวดี (ชุดนี้เผยแพร่ครั้งแรก ที่โรงเรียนห้องสอนศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน)
    ลักษณะที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมาได้ใช้ผ้าซิ่นลายยกดอกสีชมพูที่ต่อตีนสีขาวเสื้อเกาะอกมีชายเสื้องอนขึ้น สวมทับด้วยเข็มขัดสีทองเหมือนเกล็ดปลา
    ฟ้อนหริภุญไชย เป็นผลงานของนาฏกรชั้นครูผู้เชี่ยวชำนาญ ผสานกับคีตศิลป์ที่สง่างาม ความลงตัวของทุกองค์ประกอบ จึงชอบที่จะเป็นเพชรน้ำเอกแห่งล้านนา อันเจิดจรัสจ้าไปทุกกาลสมัย.
    สนั่น ธรรมธิ
    สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรกชัย มหัทธนะสิน
    อ้างอิง www.thainews70.com/news/news-culture-sanon/view.php?topic=147 โดย : สนั่น ธรรมธิ ผู้โพสต์
    ดูวิดีโอการฟ้อนรำ www.ketalanna.com/lanna-dance/lanna-dance-index.html

    • @thezitataro
      @thezitataro  9 лет назад

      +narongsak K ขอบคุณมากๆครับ

    • @yuphinauychai3891
      @yuphinauychai3891 8 лет назад +1

      +Kru bank ใช่ครูแบงค์ที่อยู่ ร.ร อนุบาลลำพูนหรือเปล่าค่ะ 😅😅😅

    • @thezitataro
      @thezitataro  8 лет назад

      ครับผม

    • @RangsiratS
      @RangsiratS 11 месяцев назад

      งามแต้ ๆ นับถือ ครูแอ็ด. จ้าว

  • @puangthongpuangthong7588
    @puangthongpuangthong7588 6 лет назад +2

    ฟังแล้วกึ้ดเติงหาบ้านหล่ะปูนขนาดเจ้า

  • @คมกริชพิงฟองสมุทร

    พราะมากครับกึ๊ดเติงหาบ้าน

  • @werajonwerte5187
    @werajonwerte5187 3 года назад +2

    เข้าสู่วัฒนธรรมดินแดงครูบาดีกว่าเอาพระธรรมคำสอนมีความสุขตั้งเยอะและวัฒนธรรมที่ดีงามของมึงนักบุญแห่งล้านนาจะมาเทวีศรีหริภุญไชยพระธาตุหริภุญชัย

  • @gymobile1285
    @gymobile1285 2 года назад +1

    สุดยอดจ้าวครูแม่ชอบฟังขนาดตอนแลงๆจ้าว

  • @vivophone9381
    @vivophone9381 Год назад

    ฟังเพลงนี้ทีไรนึกถึงเชียงใหม่เวลามีงานสมโภชฟ้อนรำๆในงานแห่ขบวน