ปลูกสละออกผลผลิตทั้งปี มีเงินเป็นล้าน

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 7 фев 2025
  • โดยพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่นะครับ จะมีการปลูกทุเรียน โดยเมื่อก่อนพืชหลักก็จะเป็นยางพารา แต่ทุกวันนี้กลับเป็นว่าโค่นต้นยางแล้วทำสวนทุเรียนกันเกือบทุกพื้นที่ แต่ยังมีพื้นที่คือส่วนของเฮียเผ่นที่ยังคงปลูกสละ ในสายพันธุ์สละสุมาลี
    เฮียเผ่นเล่าให้เราฟังว่า ที่ปลูกตรงนี้ปลูกมายาวนานเกือบ 6 ปีแล้ว ตัวจริงๆอะจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี พูดง่ายๆก็คือไม่มีฤดูกาลนั่นเอง และการปลูกเพียง 3 ปีก็จะได้เก็บผลผลิตแล้ว ...
    การปลุกสละเฮียเผ่นแนะนำว่าควรปลูกแยกออกจากกันให้เป็นสัดส่วน เกษตรกรส่วนมากในจันทบุรี นิยมปลูกต้นตัวผู้ "ริมแดน" ปลูกรอบๆบริเวณ เขตแดนริมรั้วของสวน ควรแยกพื้นที่ปลูกให้ชัดเจน เพราะต้นสลละตัวผู้เมื่อโตจะต้นจะสูงและค่อนข้างใหญ่มากถ้าไม่ตัดแต่งกิ่ง จะเกะกะ รกมาก
    เหตุผลที่แนะนำแยกปลูก :: เพราะเราปลูกต้นสละตัวผู้ เพื่อต้องการ แค่เกสรของดอกสละตัวผู้ เพื่อนำไป ผสมกับเกสรของสละตัวเมีย โดยเกษตรกรต้องลงมือผสมเกสรของสละเอง จึงจะติดลูกและเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ
    โดยพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6 ไร่ โดยทำการปลูกสละทั้งหมดประมาณ 200 ต้น โดยต้นตัวจะปลูกประมาณ 30 กว่าต้น โดยเฉลี่ยแล้วนะครับในสระตัวเมีย 100 ต้นก็จะต้องปลูกต้นสละตัวผู้ประมาณ 15-20 ต้นถึงจะพอสำหรับการผสมเกสรนะครับ..ถ้าไม่ได้ปลูกต้นก็จะต้องไปซื้อเกสรตัวผู้เพื่อมาผสมเกสร
    มีทริปนิดนิดๆครับ ในการปลูกก็ต้องปลูกทั้งต้นตัวผู้ และต้นตัวเมียเป็นคนพร้อมกัน จะได้เกสรตัวผู้และตัวเมียมาผสมในเวลาที่พร้อมกัน
    โดยสำหรับขั้นตอนในการปลูกข้าวๆนะครับ เห็นบอกว่าจะซื้อต้นพันธุ์ซึ่งเป็นต้นตัวเมียต้นละประมาณ 500 ถือว่าแพงทีเดียว แล้วก็ทำการขุดหลุมระยะห่างประมาณ 6 * 6 เมตร
    จากนั้นทำการลงหลุมปลูก หลุมละ 1 ต้น...การดูแลสะละในช่วงต้นเล็ก จะต้องใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ 15-15-15 หว่านในลักษณะโรยรอบทรงพุ่ม ต้นละประมาณ 1 กำมือ ใส่ในทุกๆ 1 เดือน...
    เมื่อต้นโตก็จะแตกกอใน 1 กอ ก็จะเก็บไว้ประมาณ 4 ต้น
    ด้วยธรรมชาติของสะละต้นตัวเมีย เมื่อมีอายุครบ 1 ปีครึ่ง จะเริ่มแทงไหลออกมาคล้ายคลึงกับจั่นมะพร้าวพร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการผสมเกสรเพื่อติดลูก
    ผสมเกสรสละเรียบร้อยแล้วนะครับ ในช่วงหน้าฝนก็สำคัญถ้ามีฝนตกจะมีปัญหาต่อการติดผลของสละ ดังนั้นเฮียเผ่นจึงใช้วิธีตัดใบทำเป็นหมวกมุงครอบหัวดอกไว้เพื่อป้องกันไม่ให้โดนฝนหรือโดนน้ำค้าง...และ หลังจากนั้น 8 เดือนเราก็จะติดผล...จากนั้น 1 เดือน ก็ทำการตัดแต่งผลที่เล็ก ผลที่ไม่ได้คุณภาพออก
    ++++++++++++++++++++++++++
    หลังจากตัดแต่งกิ่งก็จะมีการโยนเชือก การโยงเชือกในลักษณะนี้สามารถที่จะทำได้ทันทีเมื่อพบว่าดอกติดผลแล้ว...การโยงเชือกจะช่วยป้องกันไม่ให้ไหลที่ติดลูกลงไปสัมผัสกับดิน โดยใช้คานเหล็กเป็นตัวรองรับน้ำหนักของผลสะละ อีกทั้งวิธีการนี้ยังช่วยป้องกันต้นสะละเอนล้มเนื่องจากผลที่ดก
    เมื่อโยงเชือกเสร็จจึงฉีดปุ๋ยบำรุงให้ผลมีความสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ จำพวก 20-20-20, 21-21-21 เดือนละ 1 ครั้ง แต่หากต้องการให้ผลสะละมีรสชาติที่หวาน ให้ใช้ปุ๋ยสูตรที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อเร่งน้ำตาล เช่น 0-0-30, 0-0-50 ฉีดพ่นในช่วงเช้า...หลังจากการตัดแต่งและโยงลูกแล้ว ประมาณ 7 เดือนครึ่งก็จะสามารถตัดผลผลิตจำหน่ายได้...
    ++++++++++++++++++++++++++
    ตลาดสะละในปัจจุบันถือว่าดีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่สวนแห่งนี้มีการตัดจำหน่ายอยู่ทุกวัน แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งสะละยังจำหน่ายได้ตลอดปี ไม่ใช่พืชที่เก็บเกี่ยวตามฤดูกาล ราคาจึงดีอยู่ตลอด โดยสะละ 1 ต้น มีอายุ 3-4 ปี จะสร้างรายได้เฉลี่ยประมาณ 15,000 บาท/ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นพันธุ์และการจัดการภายในแปลงปลูกของตัวเกษตรกรเองด้วย ส่วนอายุในการเก็บเกี่ยวอยู่ได้ถึง 10 ปี เรียกได้ว่าเป็นการปลูกพืชระยะยาวได้เลยทีเดียว
    ++++++++++++++++++++++++++
    เฮียเผ่น กล่าวทิ้งท้ายถึงผู้สนใจปลูกสะละว่า สะละเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ยากแต่ต้องขยัน เป็นงานที่มีความจุกจิกพอสมควร ส่วนสำคัญแปลงปลูกจะต้องมีระบบน้ำที่ดี เพราะสะละต้องใช้น้ำหล่อเลี้ยงอยู่โดยตลอด...ขอให้มีความสุขในการทำการเกษตรเช่นเคย...ขอบคุณครับ
    ++++++++++++++++++++++++++
    ติดต่อฅนเกษตร : / konkaset89
    ติดต่อทีมงาน Production : / korkai.studio9

Комментарии • 26