พ.ศ.1200 พระคเณศมาอยู่ที่ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี ได้อย่างไร และเหตุใดจึงถูกทุบทำลาย?

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 22 окт 2024

Комментарии • 89

  • @xyty1953
    @xyty1953 2 года назад +7

    อาจารย์มีรูปเต็มของพระคเณศ ว่าต่างจากยุคปัจจุบันมั้ย ถ้าต่าง นั่นหมายถึงการหลอมรวม ของอินเดียทางใต้ และทางเหนือ โดยส่วนตัว คิดว่า อินเดียหลังสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์จากกรีก รุกรานอินเดีย และกลับมารุกรานอีกครั้งในสมัยหลัง พระเจ้าอโศก ตอนนั้น ชาวอินเดียทั่วทุกภาคเกิดกระแสต่อต้าน ขับกรีกออกไป แต่ก็น่าจะปกครองนานพอควร สังเกตได้อิทธิพล เทวรูป พุทธรูป แบบอย่างกรีก หมด ซึ่งศูนย์กลางผลิตเทวรูป ยิ่งเห็นหมวกทรงสูงแล้วนึกถึงพระเจ้ากนิษกะ แล้วส่งต่อมาบ้านเราสมัยทวารวดี แต่หนูก็ไม่ทราบเช่นกันว่าในอินเดียเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งใด เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เหมือนกับว่า อินเดีย ตอนเหนือ ในยุคที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลง แล้วฮินดู พยายามจะหลอมรวมอำนาจ ทั้งการเมือง ดินแดน ความเชื่อ และวัฒนธรรม ทางใต้ แต่ก็มีการแย่งชิงอำนาจ สงคราม ระหว่าง ทางเหนือ ตอนกลางกับทางใต้ แล้วดูเหมือนในอีกสมัยนึงจะมีการรุกไล่ จากตอนเหนือลงใต้ ลุกไล่จากทางบังคลาเทศ มาทางพม่า ส่วนบ้านเรา กระแสวัฒนธรรมอินเดีย ที่เป็นรากของเรานั้น ดูเหมือน จะเปลี่ยนตาม ยุคสมัยอินเดีย คุปตะ ปาละ โจฬะ มาก ๆ เสมือนประหนึ่ง เป็นดินแดนเดียวกัน แล้วมาเปลี่ยนอีกครั้งสมัยโรคระบาดและมองโกลรุกราน ที่โครงสร้างประชากรอาจเปลี่ยน แต่กระแสวัฒนธรรมไม่เปลี่ยน มีที่เวียดนามเปลี่ยน เพราะจีนทั้งยึดครองและครอบครอง พยายามกลืนประชากรด้วยกระแสวัฒนธรรม หนูไม่ทราบเหมือนกันว่าอินเดียสมัยพระเจ้ากนิษกะ ตรงกับสมัยโรมันตะวันตกมั้ย แล้วสมัยไบเซนไทน์ มีอิทธิพลต่อภูมิภาคอินเดียมั้ย แต่บ้านเราก็เจอเหรียญสมัยโรมัน ในภาคใต้มิใช่หรือค่ะ แต่ในภาคตะวันออก บริเวณไผ่ชะเลือด มีการขุดพบลูกปัด จำนวนมากอยู่นะ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +4

      สวัสดีครับ คอมเม้นท์ได้อลังการมาก
      กำลังนึกตาม โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค
      1. กรมศิลป์ฯเขียนป้ายอธิบายพระคเณศองค์นี้ว่า มีรูปแบบเทียบได้กับองค์ที่ถูกพบในอังกอบเรย์ กัมพูชา แต่ไม่มีความเห็นว่า รับมาจากไหน มาจากอินเดียเหนือ กลาง หรือใต้(?)
      2. อาจารย์ฉัตตริน เทียบพระคเณศองค์นี้กับงานในอินเดียเหนือ พบว่ามีส่วนคล้ายกันอยู่บ้าง
      3. อาจารย์วรนัย มองว่า อิทธิพลที่นับถือ "หลายนิกาย" อาจส่งมาถึงรัฐอานธระในช่วง พศว.11 ก่อนส่งต่อมาถึงบ้านเราในช่วง พศว.12

    • @xyty1953
      @xyty1953 2 года назад +3

      @@taspien ก็นั่งวิเคราะห์จากอาจารย์เล่า นั่งอ่าน ตามหลักฐานที่มี เลยสันนิษฐาน น่าจะ มีการเปลี่ยนแปลง เป็นระลอกคลื่น ในอินเดีย วัฒนธรรม การเมือง ศาสนา วรรณกรรม บางที ก็แยกกันไม่ค่อยออกเท่าไหร่ อาจารย์เห็นมั้ยว่าทวารวดี ทำไมขัดแย้งทางศาสนา ต่างศาสนา นิกายต่างนิกาย หนูคิดว่า ในภูมิภาคนี้ ทุกอย่างเข้ามาหลากหลายมาก แล้ว น่าจะเข้ามาเป็นช่วงแรกๆ ด้วย เหมือนอินเดียเปลี่ยนตาม บ้านเราตามแฟร์ชั่นอะไรประมาณนั้น วรรณกรรมบางอย่าง ก็อาจมาจากเค้าโครงการต่อสู้ ของชนชาตินึง ที่พยายามแผ่อิทธิพล ลงใต้ก็เป็นได้ หนูจึงใช้คำถามว่า ทำไม และทำไม ชื่อเมืองอโยธยา น่าจะกำเนินลัทธิไวนพนิกาย ที่ศรีมโหสถ อาจเป็นแหล่งลัทธินี้ก็ได้ ลัทธิไศวนิกาย เขาจะมีเรื่องเล่าของเขา และเมื่อปะทะ กัน สุดท้ายก็จะเห็นการรวมของวัฒนธรรม ในที่สุด คงไม่มีใครฆ่าฟัน กันตลอดไป เวลามองศิลปะกรรม มันก็อาจเกี่ยวพันธ์กับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค การเมือง การปกครอง ด้วย ในเมื่อ ทวารวดีในบ้านเรา มันไม่เหลือเค้า อะไรมาก เราก็ต้องศึกษาเพื่อนบ้าน ถ้ามีกระแส การหลั่งไหลวัฒนธรรม มันน่าจะเทียบเคียงได้บ้าง

  • @ยุทธ์-ธ6ฝ
    @ยุทธ์-ธ6ฝ Год назад +1

    เรื่องพระพิเณศ ผมมีข้อมูลน้อยมาก เพราะกาอนที่เคยทำงานที่ฉะเชิงเทรา ผมเองยังรู้สึกขัดแย้งกับการสร้างอุทยานพระพิฆเณศ แต่พอได้ฟังเรื่องราวจากคุณสุจิตต์ วงศ์เทศ ก็ตกใจว่า พระพิฆเณศทร่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่ปราจีนบุรี ผมก็เลยสมมติฐานว่า เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของกุย เข้ากับพราหมณ์ฮินดู นั่นคือสมมติฐานนะครับ แต่ผมมีข้อมูลน้อยมาก
    เท่าที่เคยทราบ ที่ศรีมโหสถ มีความขัดแย้งทางศาสนาถึงขนาดเผาบ้านเผาเมือง ซึ่งหลักฐานคือเมล็ดข้าวเปลือกที่ไหม้เป็นเถ้าถ่าน และมีการปั้นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์อัปลักษณ์ แต่ผมยังไม่เคยเห็น มีการแต่เรื่องส่าถ้าพระพุทธรูปองค์นี้ไปอยู่ที่ไหน ที่นั่นจะแห้งแล้ง อดอยาก เดือดร้อน แต่สุดท้ายความขัดแย้งระหว่างพราหมณ์ฮินดูต้องร่นถอยกลับไปยังพระนคร(เสียมเรียบ)

    • @taspien
      @taspien  11 месяцев назад

      อืมมม ครับ
      ปัจจุบันยังไม่แน่ใจว่า ถูกทุบช่วงไหนกันแน่

  • @WoRarat-zp4cm
    @WoRarat-zp4cm Год назад +1

    ตามดูคลิปของอาจารย์ สนุกและน่าติดตามมากๆ

    • @taspien
      @taspien  Год назад

      ขอบคุณครับ
      ทักคุยกันได้นะครับ
      usd2564

  • @nichnana4907
    @nichnana4907 2 года назад +3

    ดีใจมาก ได้ยินเสียงอาจารย์ และ ได้รับความรู้ที่ยังไม่เคยฟังจากที่อื่นมาก่อน สนุกมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ รอฟังตอนต่อไปค่ะ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณครับคุณ Nichnan

  • @นําพลปู่นุช
    @นําพลปู่นุช 2 года назад

    ในอดีต เริ่ม ทวา ขยายเยอะ แต่ไม่ยืนยาว มาอีกหลายยุค
    เห็นภาพครับ อ. กระจายทั่วประเทศ❤🙏❤

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณครับคุณนำพล

  • @นําพลปู่นุช
    @นําพลปู่นุช 2 года назад +1

    อ.ส..แข็งแรงครับ❤🙏❤

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      เช่นกันครับคุณนำพล

  • @user-sf1df3vl4e
    @user-sf1df3vl4e 2 года назад +2

    เรื่องของสระน้ำบ่อน้ำ เคยถามคนที่อยู่ศรีสะเกษน่าจะเป็นคนเชื่อสายเขมรถิ่นไทยดูลักษณ์เขาคงจะมีความรู้ เขาบอกว่าสระน้ำในอดีตยุคอาณาจักรเขมรโบราณ กษัตริย์เขมรโบราณเมื่อจะไปสู่เทวาลัยหรือเทวสถาน กษัตริย์จะนั่งบนเสลี่ยงจะมีคนหามเเละกษัตริย์จะถือพระขรรค์ติดตัวไปด้วย มีนางอัปสรามีขุนนางเเละทหารองครักษ์เดินตามอยูขนาบข้าง เมื่อถึงสระน้ำกษัตริย์จะลงไปที่สระลักษณะการกระทำเขาบอกว่าเหมือนคนที่เกาะบาหลีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เขายังบอกว่า กษัตริย์สมัยอดีตเเต่งตัวอย่างไรให้ดูภาพจารึกของชัยวรมันที่2ที่เมืองพระนคร สระน้ำจะมีทางลงเป็นบันไดลงไปกษัตริย์จะเปลื้องเครื่องทรงออกจะเหลือเเต่ชุดลำลอง

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +2

      ขอบคุณมากครับคุณ H
      เห็นภาพ เหมือนเป็นการลงสรงน้ำ

  • @tanongsakmhuentoei2715
    @tanongsakmhuentoei2715 Год назад +1

    น่าสนใจมากครับ ขอบคุณครับ

    • @taspien
      @taspien  Год назад

      ขอบคุณที่ติดตามครับ

  • @manakaisa
    @manakaisa 2 года назад +1

    อินเดีย ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน มีภาษามากมาย สีผิวหลากหลาย มีทั้งรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา และส่งต่อวัฒนธรรมไปยังดินแดนอื่น ถือเป็นชาติที่หลอมรวมหลายๆความเชื่อ หลายๆเชื้อชาติ หลายๆวัฒนธรรม รวมกันเป็นอย่างดี

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณครับคุณ Mana Kaisa

  • @ปฏิมาภรณ์ทรัพย์สมบัติ

    สวัสดีค่ะ อ. ติดตามค่ะ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      สวัสดีครับคุณปฏิมาภรณ์

  • @kongpantakran
    @kongpantakran 2 года назад +1

    ขอบคุณมากครับอาจารย์..ที่หาสิ่งดีๆมาฝาก

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ยินดีครับ

  • @apinya19800
    @apinya19800 2 года назад +2

    "เมตตาจิตมีทุกๆในศาสนา"ด้วย"จิต" จิตอันมีเมตตา กรุณาจะหลอมรวมศาสนอันเป็นมงคลให้ยังมี ยังได้ค้นพบ เคารพ ระลึกทราบในปัจจุบันเป็นจริงทุกประการ🙏ขอขอบพระคุณยิ่งค่ะ🙏🙏🙏ขออนุโมทนา☺️

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณครับคุณ apinya

  • @rajamani8509
    @rajamani8509 2 года назад +1

    เรื่องพระคเณศ ศรีษะถูกเผาด้วยตาสามของพระศิวะ จึงไม่เหลือซากเดิมกลับมาต่อ ต้องแสวงหาได้ศรีษะช้าง..การเชื่อมต่อ อัญเชิญพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่อยู่บนสวรรค์(บรรลุธรรมบนสวรรค์ สอนสั่งเทวดา) มาช่วยต่อหัวชุบชีวิต...นี่ตำนานนึง.......เรื่องวัฒนธรรมอินเดียในไทยสมัยโบราณน คืออินเดีย เค้าก็แบ่งเป็นเมืองเป็นประเทศ มากมาย เวลามาตั้งนิคมการค้าในไทย เค้าก็แบ่งเขตอิทธิพลกัน เช่นพวกอินเดียตอนเหนือ(กัลกัตต้า) เค้าก็คุมการค้าทวาย-กาญจ-นครปฐม-อู่ทอง ก็จัดหาสินค้ากลับ.....ดังนั้นพวกอินเดียใต้ ก็อยากได้สินค้าบ้างแต่ทับเส้นทางกับกลุ่มอินเดียเหนือไม่ได้ จึงมาทางระนอง พังงา สุราษฎ นครฯ ชุมพร ตัดทะเลมา เข้าบางประกงถึงปราจีน สิ่งที่พวกอินเดียต้องการหลักๆคือทองคำ ผมคิดว่า วัฒนธรรมที่ศรีมโหสถ เป็นพวก ทมิฬนาดูผสมลังกา มาร่วมกัน ดังนั้นกลุ่มอนานิคมศรีมโหสถ จะมีเส้น การค้าทางบก เข้าทะเลสาปเขมร ขึ้นสระบุรี ศรีเทพ โคราช จึงทิ้งร่องรอยงานสลักทางศาสนา รวมถึงรอยพระบาท ดังนั้นวัฒนธรรมทวารวดีแรกเริ่ม อาจแบ่งเป็นกลุ่มอู่ทอง กับกลุ่มศรีมโหสถ พูดง่ายๆคือแข่งกัน เพราะมาจากประเทศแม่อินเดียคนละประเทศ

    • @xyty1953
      @xyty1953 2 года назад +1

      เห็นด้วย พอมาหลังๆ อพยพชนชั้นปกครองมาด้วย แบบหนีภัยสู้รบ ในแต่ละแคว้นในอินเดียแผ่นดินแม่ วัฒนธรรมอินเดียในแทรกซึม ในทุกส่วนของภูมิภาคนี้ คิดว่าอินเดียใต้ น่าจะคุมเส้นทางชวา กับภาคใต้เรามากกว่านะ แต่ที่ศรีมโหสถ ผู้ปกครองท้องถิ่น อาจจะเปิดรับ ทุกแคว้น ก็เป็นไปได้ เพราะก็ไม่เหมือนที่ศรีเทพเสียทีเดียว

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      กำลังนึกตาม ขอบคุณครับคุณ Raja Mani

  • @tidakamneetida5674
    @tidakamneetida5674 2 года назад

    สวัสดีครับ อาจารย์ ผมติดตามรับชมอยู่เสมอครับ ได้ความรู้ดีมากๆครับอาจารย์ สิ่งที่ไม่รู้เราก็ได้รู้ครับอาจารย์ สุดยอดจริงๆ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +1

      ยินดีครับ มีความเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ครับ

  • @เทอดจิตต์วงษ์ขุนเณร

    ขอบคุณครับ อาจารย์♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +1

      ยินดีครับคุณเทอดจิตต์

  • @ธานินฉิมสุข
    @ธานินฉิมสุข 2 года назад +1

    ขอบคุณมากครับ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +1

      ยินดีครับคุณธานิน

  • @WorapatYommana
    @WorapatYommana 2 года назад

    เรื่องพระพิฆเนศคือน่าสนใจมากครับ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +1

      ขอบคุณครับคุณวรภัทร

  • @เกษมประภาพกุล

    ขอบคุณครับอาจารย์

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ยินดีครับคุณเกษม

  • @pisutweerakitikul2978
    @pisutweerakitikul2978 2 года назад +1

    น่าสนใจมากครับ ขอบคุณอาจารย์ที่นำความรู้ดีๆมาฝากครับ 🙏

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +1

      ยินดีครับ มีความเห็นแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

    • @pisutweerakitikul2978
      @pisutweerakitikul2978 2 года назад +1

      @@taspien 😁 ไม่ค่อยมีความรู้เลยครับ ต้องรบกวนขอวิชาความรู้จากช่องของอาจารย์นะครับ

  • @Thisismyworld-c1g
    @Thisismyworld-c1g Год назад

    เป็นไปได้ไหมครับ ว่าเกิดการขัดแย้งกันระหว่างศาสนา อย่างพระคเณศที่พบก็มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือ พระกรของพระวิษณุ ที่ไม่สมบูรณ์เลยสักองค์ จากรายงานการขุดค้นก็มีการพบพระพุทธรูป และโบราณวัตถุอื่นๆ ถูกโยนทิ้งไว้ในบ่อน้ำด้วย

    • @taspien
      @taspien  Год назад +1

      เป็นไปได้ครับ

  • @ประวัติศาสตร์หลังเที่ยงคืน

    ผมมีความเห็นต่างครับ
    เรื่องมันไม่ได้ซับซ้อนอะไรแค่สร้างไปป้องกันช้างมาบุกเมืองครับ

    • @taspien
      @taspien  Год назад

      สวัสดีครับอัฐ
      เป็นที่มาของ "ช้างพัง"

  • @pongthorn123
    @pongthorn123 2 года назад +1

    ศรีมโหสถ นี่ผมรู้จักครั้งแรกจากรายการทอดน่องท่องเที่ยว คุณสุจิตต์ จะเล่าว่าเป็นบ้านเกิดท่าน แต่บรรพบุรุษท่านเป็นลาวกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐาน เมืองโบราณเดิมร้างอยู่แล้ว พระคเณศที่นี่ถ้าไม่ถูกทุบจะงามมาก พอ อ.สัณณิฐานว่าเกิดความขัดแย้ง ตัวผมเลยเพิ่มข้อสงสัยในการที่เมืองถูกทิ้งร้าง เพิ่ม จาก 1.ทางน้ำเปลี่ยน 2.เส้นทางการค้าเปลี่ยน เพิ่ม 3.สงครามและกวาดต้อนผู้คนไป เหมือนที่ ครอบครัว คุณสุจิตต์ ถูกพามา ครับ ตอนนี้ฟังเก็บข้อมูล ยังไม่ได้พล๊อต Time Line ไว้โม้กับเพื่อนเวลาพาเพื่อนติดรถไปเที่ยวครับ

    • @xyty1953
      @xyty1953 2 года назад +1

      หรือจะเป็นโรคระบาด แต่ชาวพวน ที่อพยพมา เพราะสมันรัตนโกสินทร์ต้องการจะเรื้อฟื้นเมืองอีกครั้ง คิดว่าสมัยอยุธยาน่าจะยังคนมีอยู่

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณมากครับคุณ pongthorn

    • @pongthorn123
      @pongthorn123 2 года назад +1

      @@xyty1953 หลังๆ เรื่องโรตระบาดแล้วร้างเมืองเลยนี่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยครับ ดู จากประวัติศาสตร์ หลายแห่งในโลกแล้ว ระบาดแบบตายเยอะ อย่างโรม ลอนดอน แค่ ประชากรลดลงชั่วขณะเมืองไม่ได้ร้าง หนองโสนอยุธยา นี่เมืองแค่ย้ายซีกเมือง แถม ยังเป็นช่วงพัฒนาอยุธยาจากเมืองท่าเป็นเมืองหลวง Black Dead ที่ ระบาดจากจีน ไปทั่วโลก แล้วผลกระทบหลายปี เมืองใหญ่ๆ มีผลคือจำนวนประชากรลดลงชั่วขณะ มากกว่าครับ

    • @xyty1953
      @xyty1953 2 года назад +1

      @@pongthorn123 แต่เมืองเล็กๆ ก็อาจทำให้ร้างได้ หนูคิดว่า น่าจะเป็นปัจจัยร่วมกับภาวะสงครามนะค่ะ

  • @นครโคราช-ฮ7ฬ
    @นครโคราช-ฮ7ฬ 2 года назад +1

    ติดตาม สารคดีโบราณมา
    ยังไม่เคย เจอ เรื่องราวพระพิฆเนศเลย

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ใช่ครับ ไม่ค่อยมีในบ้านเรา

  • @Darkworld-vt1pm
    @Darkworld-vt1pm Год назад

    ทวิเท้าวางดี (ทวาราวดี)
    รอยพระพุทธบาทคู่ สระแก้ว สระขวัญ
    บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
    สร้างหลัง 30 ปี จากดับขันธุ์ปรินิรพาน
    สมณะโคดมพุทธเจ้า
    ภายหลังขอมเรืองอำนาจ ตั้งแต่ พุทธศตวัชร์ ที่ 16(พ.ศ.1600) พระเจ้าสุริยะ
    วรมันต์ ที่ 2ก็ได้ทรงสร้างเพิ่มเติม,
    พราหมณ์ และ ใน พุทธศตวัชร์ที่ 18
    (พ.ศ.1800) พระเจ้าไชยวรมันตร์ ที่ 7
    ทรงนับถือ พระพุทธศาสนา มหายาน
    ลัทธิ์วัชร์ญาณ์
    ส่วน พระพิฆเนศวรย์นั้น มาแต่เมืองศรีเทพ(นครรูปช้าง) ลานช้าง ล้านช้าง
    กรุงศรีสัตนาคุรุหุต
    พระพิฆเนศวรย์ เกิดแต่ องค์ราม (พรอินทร์) กะพระนางไอยรา(นางฟ้าตาตี่)
    มีพระองค์จริงบนโลกนี้.
    พระศรีอารย์.
    ..สักกะเทวะราชา❤

  • @kokkkkok8262
    @kokkkkok8262 2 года назад +1

    ดินแดนแถบนี้มีคนอยู่มาตั้งแต่สมัยหินแล้ว
    ก่อนสมัยทวารดียังค้นหาหลักฐานไม่ได้?

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ใช่ครับ

  • @xyty1953
    @xyty1953 2 года назад +1

    ยังสงสัย ว่า เมืองสาเกตในสมัยพุทธกาล จนมา อวัยธยะปุระ อโยธยา ที่อินเดีย ดูจะเป็นเมืองที่เป็นรากฐานอำนาจ มาก รามายณะ ก็เริ่มที่นี่ บ้านเราก็เอามาอีก

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ครับ

  • @thanetuathawisamphun9597
    @thanetuathawisamphun9597 2 года назад +1

    แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว กว่า 3,000ปี

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณครับคุณ Thanet

  • @Alicewonderworld55
    @Alicewonderworld55 2 года назад +3

    อาจารย์ ผมส่งสัยอย่างนึ่ง
    เวลาเขาเดินเรือสมัยโบราณ เขาจะเดินเรียบชายฝั่งหรือเปล่าครับ
    อีกเรื่องเคยส่งสัยอย่างนึ่ง เช่น โรงเรียนช่างกลต่างๆ นร ก็เป็นพุทธ แต่มีพระวิษณุหน้า รร ให้นรไหว้ สองความเชื่อแต่อยู่ร่วมกัน

    • @taspien
      @taspien  2 года назад +1

      สวัสดีครับคุณ Alice
      1. เข้าใจว่า ส่วนใหญ่เลียบฝั่ง ส่วนน้อยข้ามสมุทร
      2. เป็นพระวิษณุกรรม(?) แต่ก็ใช่ครับเป็น 2 ความเชื่อที่อยู่ด้วยกัน คือ พุทธ+เทพ

  • @exman99
    @exman99 Год назад +1

    องค์นี้อาจจะเป็นพระเทพกรรมในศาสนาท้องถิ่นของภูมิภาคนี้หรือเปล่าครับ ไม่ใช่พระคเณศในคติฮินดู เลยโดนทุบทิ้งหลังจากฮินดูเข้ามา

    • @taspien
      @taspien  Год назад

      พระเทวกรรมในแง่ไหนหรือครับ ยังมองไม่ออก

    • @exman99
      @exman99 Год назад

      สังเกตว่าฝั่งไทยมีตำนานพระคเณศที่ไม่เหมือนอินเดียเยอะ เช่น พระโกจนาศวร พระเทพกรรม ที่เป็นหัวช้าง เลยสงสัยว่าจะมีเทพหัวช้างที่เป็นความเชื่อเดิมของพื้นที่นี้หรือปล่าวครับ
      เคยอ่านเจอบทความที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าพระคเณศเป็นเทพฝั่งอินเดียใต้ ที่อาจได้รับอิทธิพลความเชื่อเทพกลุ่มควาญช้างในตะวันออกเฉียงใต้จากการติดต่ออพยพกันไปมาครับ

  • @บาส-ศ4ฏ
    @บาส-ศ4ฏ 2 года назад +1

    ชอบกลุ่มเทวรูปโบราณที่เมืองศรีมโหสถมากๆครับ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ใช่ครับ เป็นงานรุ่นเก่า

  • @zazacoci258
    @zazacoci258 2 года назад +1

    ที่นี่ น่าจะเป็น "เมืองป่าเจล" ในหลักฐานงาน พระราชกวีอ่ำ แล้วเพี้ยนเป็น ปราจีณ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ขอบคุณครับอาจารย์ น่าสนใจ

  • @surapongkankong9596
    @surapongkankong9596 Год назад +1

    การทุบทำลาย มาจากสาเหตุช้างป่าที่เข้าทำลาย ไร่ สวน หรือป่าวครับ อาจารย์

    • @taspien
      @taspien  Год назад +1

      น่าจะมาจากเปลี่ยนศาสนา
      ทุบจนละเอียดเลยครับ

  • @narinthongseubsai7263
    @narinthongseubsai7263 Год назад

    เทพผู้ยิ่งใหญ่โดนคนทุบจนแหลก

  • @xyty1953
    @xyty1953 2 года назад +1

    อาจารย์ในสมัยทวารวดี มีวรรณกรรมเรื่องรามายณะหรือยัง แต่หนูคิดว่า วรรณกรรมนี้เหมือนมาแต่งทีหลัง รวมอินเดียเหนือใต้มากกว่า โดยใช้ศาสนารวม

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      สวัสดีครับ
      1. ถ้าเป็นข้อมูลในวิกิพีเดียก็เล่าว่า 2 พันกว่าปี
      2. โดยส่วนตัวผมไม่แน่ใจ เดาว่ารามายณะมีหลายรุ่น หลาย version โดยในช่วง พศว.11-12 คงเป็นรุ่นแรกๆ ที่ไม่ซับซ้อนเท่า version ปัจจุบัน
      3. ที่ตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องราวสืบมาจากเหตุการณ์รบใหญ่ระหว่างบ้านเมืองในกลุ่มแคว้นอินเดียเหนือ-อินเดียใต้นั้น ผมก็รู้สึกอย่างนั้น เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเหตุการณ์รบสมัยไหน เพราะในอินเดีย มีการรบครั้งใหญ๋ๆ มาตั้งสมัยพระเจ้าอโศก

    • @xyty1953
      @xyty1953 2 года назад

      @@taspien อาจารย์แคว้นที่มหาอำนาจในสมัยพุทธกาล แคว้นอวันตี นี่อยู่ตอนกลาง อินเดียใช่มั้ย เห็นในศาสนาพุทธ มักจะพูดมัชชิมาประเทศ บ่อยๆ

    • @xyty1953
      @xyty1953 2 года назад +1

      @@taspien เท่าที่หนูรู้สึกนะ มีมหาภารตะ กับรามายณะ ที่คิดว่าคือการรบใหญ่ ของชาวอินเดียโบราณ แต่อาจจะช่วงเวลา และต่างนิกายกัน มหาภารตะ คล้ายจะเป็นไศวนิกาย มาจากที่ที่นึง ที่มีภูเขา รามายณะเหมือนจะเป็นไวศนพนิกาย จุดเริ่มต้นที่เมืองอโยธยา แต่ในภูมิภาคนี้ พม่าเอง ก็ไม่มีรามายณะ เพิ่งมีตอนที่รับเอาตอนกวาดต้องนอยุธยา ไป เอง แสดงว่า เราเป็นถิ่นเฉพาะ

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      อืมม ครับ

  • @phongraphinupang7720
    @phongraphinupang7720 Год назад

    ผู้นำบ้านเมืองน่าจะจงใจทำลาย เทวะรูปเอง เพราะเปลื่อนมานับถือ พุทธศาสนา แบบเถรวาท

  • @จิราวรรณชาวนา-ศ5ท

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ดิฉันไม่คิดว่าเมืองศรีมโหสถนี้มีวัฒนธรรมของแต่ละยุคมากมายรวมกันอยู่น่าศึกษามากเลยนะคะและน่าไปชมสถานที่ต่างๆในเมืองนี้น่าค้นหามากค่ะดิฉันเอาใจช่วยในการสืบค้นเพื่อที่อาจารย์จะได้นำมาให้ชมในคลิปต่อไปเพื่อเป็นความรู้ในวัฒนธรรมเก่าแก่ของที่นี่ค่ะขอบคุณมากค่ะที่พามาชมสถานที่เหล่านี้

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      ยินดีครับคุณจิราวรรณ

  • @Tony-sk2gw
    @Tony-sk2gw 2 года назад

    เป็นไปได้ไหมครับว่าเมืองเหล่านี้เคยเป็นชุมชนที่มีการค้าขายมานานกว่าอารยธรรมอินเดียเข้ามา

    • @taspien
      @taspien  2 года назад

      สวัสดีครับคุณ Tony'
      บางคนสงสัยว่าศรีมโหสถเก่าถึงยุคฟูนัน ก่อน พศว.10 อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานชัดๆ