Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
ท่านใดประสบปัญหาเหมือนเรื่องราวในคลิป ปรึกษาหรือสอบถามเข้ามาได้นะ ผมยินดีให้คำแนะนำ ติดต่อได้ที่ช่องทางนี้นะครับLine : lin.ee/MbBWvDt หรือ กดติดตามเพจผมได้ที่ facebook.com/storytellingbypichailawyer#ทนายพิชัย
@@kitlawonyavuth4375 อุ้ย ต้องขออภัยด้วยนะครับ คลิปต่อไปจะปรับปรุงให้ดีขึ้นและกระชับเนื้อหาให้สั้นกว่านี้ครับ ขอบคุณที่คอมเมนต์แนะนำนะครับ 😊
มีทื่มรดกแบ่งกันแล้วแต่ไม่ได้ดูแลให้พี่น้องทำกินจะต้องทำอย่างไรบ้างครับวันข้างหน้จะได้ไม่เกิดปัญหาและถ้าทำจะต้องพากันไปทำธุระกรรมที่กรมที่ดินมั้ยชอบคุณครับ
@@malikhembut4146 ถ้าให้เช่าไม่เกิน 3 ปี ทำกันเองได้ครับ แต่ถ้าเช่าเกิน3ปี ควรจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดินครับ
ขอบคุณครับ
@@malikhembut4146 ยินดีครับ
ไหนบอกว่าผู้ซื้อใหม่รู้ว่ามีสัญญาเช่า 3 ปี 2 ฉบับและจะให้เช่าต่ออีก แล้วจู่ๆทำไมมาไม่ให้เค้าอยู่ต่อจนครบ 6 ปี
พูดกันปากเปล่า วันก่อนพูดอย่าง วันหน้าอาจเป็นอื่นได้ครับ ดังนั้น ทางที่ดีคือทำสัญญาให้รอบคอบรัดกุมครับ เรื่องเล่านี้จึงเป็นอุทาหรณ์เตือนใจได้ดีครับผม
มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ 😀
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับท่านเติ้ล ^_^
ค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกัน มักมีราคาถูกกว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อการแก้ปัญหาเสมอ 👍
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ ^_^#ทนายพิชัย
เอาจริงๆผมว่าก่อนจะทำอะไรก็ควรจะปรึกษาทนายก่อนก็จะไม่มีปัญหาแบบนี้ตามมา เห็นใจคนเช่าเลยครับ แต่ก็ยังดีที่เรื่องนี้กลายมาเป็นประโยชน์ให้คนอื่นได้ทราบ ขอบพระคุณสำหรับความรู้ครับ
ยินดีที่ได้แบ่งปัน และขอบคุณสำหรับการติดตามรับฟังนะครับ ^_^
เคยเจอมาแล้วเมิ่อ50ปีก่อนการทำสัญญา3+3เป็นการเลี่ยงภาษีเพราะสัญญาเช่าเกิน3ปีต้องจดทะเบียนและเสียภาษีเรืองนึ้ไมีใช่เรืองใหม่
ใช่ครับ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังคงไม่ให้ความสำคัญกันครับ ทั้งที่การเสียภาษีจากการเช่าก็ไม่ได้แพงขนาดนั้น เมื่อเทียบกับปัญหา/ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อไปครับขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ ^_^
ต้องระบุเงื่อนไขไว้ในฉบับแรกให้ชัดเจนเพื่อให้ผูกพันฉบับที่สองเช่นถ้าขายต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในปีที่ 4-6
ควรระบุให้ละเอียดอย่างที่ท่านว่าครับ แต่มีประเด็นต้องพิจารณาต่อ คือ1.หากสัญญาเช่ามีเจตนาเช่า 6 ปี ควรจดทะเบียนการเช่าที่สนง.ที่ดินครับ จึงจะมีผลทางกฎหมายบังคับไปตลอดและบังคับไปถึงบุคคลที่ 3 เช่น คนซื้อใหม่ ครับ2.สัญญาเขียนระบุเงื่อนไขในฉบับ กล่าวถึงระยะสัญญาปีที่ 4-6 ได้ แต่จะบังคับกันได้แค่กับคู่สัญญา+ต้องต่อสัญญาฉบับที่ 2 แล้ว เพราะสัญญาฉบับที่ 2 ในทางกฎหมายมีสถานะเป็นเพียงคำมั่นว่าจะเช่ากัน ดังนั้น ถ้าเจ้าของที่ดินเลิกสัญญาฉบับแรก สัญญาที่2 ก็ไม่เกิดขึ้นครับ3.การเจรจาต่อรองเพิ่มเงื่อนไขต่างๆนั้น ถ้าไม่ขัดต่อกฎหมาย ปกติเขียนได้หมด บังคับกันได้ครับ แต่ในทางความเป็นจริง สถานะของคู่สัญญาไม่เท่ากัน ผู้มีสถานะสูงกว่าเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆให้ตนเองได้เปรียบ หรือเสียเปรียบน้อยที่สุด เช่น ผู้เช่า อยากเช่าที่ดินมาก เพราะทำเลดี หรือเหมาะกับใช้ประโยชน์ ส่วนผู้ให้เช่า ให้ใครเช่าก็ได้ ใครให้ราคาสูงกว่าคนนั้นได้ไป แบบนี้เงื่อนไขสัญญาจะเอนเอียงไปทางเจ้าของที่ดิน กล่าวคือ ถ้าอยากเช่าที่ดิน ไม่ควรมีเงื่อนไขมาก เพราะคุณจะไม่ได้เช่า เป็นต้นครับปล.ที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้น มีกรณีตัวอย่าง ที่หยิบยกมาเทียบเคียงกับกรณีของเรื่องเล่านะครับ ผิดพลาดประการขออภัยล่วงหน้า และขอบคุณที่คอมเมนต์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ ขอบคุณมากครับ
ขอสอบถามค่ะ ทำสัญญาเช่านาเพื่อการทำนาไว้ 5 ปี เราต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินใช่ไหมคะ แล้วต้องไปทั้งสองฝ่ายไหมคะหรือว่าเรานำสัญญาเช่าไปขึ้นทะเบียนเองได้เลย
เช่าทำนา ถ้าไม่ได้ทำสัญญาเช่าไว้ จะมีกำหนดระยะเวลาเช่าได้ 6 ปีตามกฎหมาย ลองฟังดูคลิปนี้นะครับ ruclips.net/video/rJMhpv_voVM/видео.htmlsi=gzwS7Kft4LBsl53O แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายสะดวก จะไปจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดินได้ครับ โดยหลักจะต้องไปทำด้วยตัวเอง หรือจะมอบอำนาจให้อีกฝ่ายไปดำเนินการแทนได้ครับ เรื่องเอกสารและการมอบอำนาจ แนะนำปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดิน ของสนง.ที่ดินในพื้นที่ได้เลยครับ เพื่อจะได้เตรียมเอกสารครบถ้วนถูกต้องไม่เสียเวลาครับผม ^_^
กฏหมายออกด้วยคิดเองเออเองของมนุษย์ ความถูกเอารัดเอาเปรียบแบบนี้มันถูกต้องตรงไหน ออกกฏไปสิว่าถ้าผู้ให้เช่าผิดสัญญาไปขายหรือทำกินที่ให้เช่าไม่ได้ก็ปรับผู้ให้เช่าไปสิ ออกกฏแปลกๆ
หากเช่ากันเกิน3ปี ป้องกันปัญหาในอนาคตได้ ด้วยการไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดินครับ ง่ายสุดครับ
กฎหมายไม่ได้เอาเปรียบใครค่ะ มีแต่คนที่ไม่รู้กฎหมายถึงถูกเอาเปรียบ
@@gamzamylifeichoose6404 ถูกต้องครับ ส่วนกฎหมายที่ตั้งใจออกโดยกลุ่มคนที่จ้องเอาเปรียบ จะเป็นอีกกรณีนึง ซึ่งจะหยิบยกมาเล่าไม่ได้ครับ🤭🤫
@@gamzamylifeichoose6404ใครๆก็โดนเอาเปรียบทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าคนๆนั้นจะรู้ไม่รู้กฎหมาย ถ้าเจอคนที่จอ่งจะเอาเปรียบกัน
@@phattharaphapawannwaijit3025 อันนี้ก็ถูกครับ แต่รู้ไว้ย่อมดีกว่าไม่รู้ครับ อย่างน้อยก็พอป้องกันตัวเองได้ หรือไม่ใช้ความรู้กฎหมายไปเอาเปรียบผู้อื่น เพราะเข้าใจว่าทำได้ ไม่ผิด แต่เมื่อมีกฎกติกา เขียนไว้ว่าห้ามทำ หรือทำแล้วมีความผิด จะลดความเสี่ยงการจ้องเอาเปรียบกันได้บ้าง หากเกรงกลัวต่อความผิดครับผมขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ ^_^
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ 😊
สัญญาฯ ระบุการให้คำมั่น เรื่องการต่อสัญญาหรือไม่ (ต้องทำสัญญาให้ครอบคลุมการใช้ประโยชน์)
ครับผม ^_^
ให้ความรู้ดีมากครับ
ขอบคุณมากครับ เป็นกำลังใจที่ดีมากเลยครับผม ^_^
รบกวนสอบถามครับ1. สัญญาฉบับที่สอง ตอนทำ ลงวันที่ที่ทำ วันเดียวกับสัญญาฉบับแรกไหมครับ หมายถึงวันที่ทำสัญญา ไม่ใช่วันที่เช่านะครับ2. สัญญาเช่าบ้านหรือที่ดิน ถ้าไม่เซ็นต์3ปี มันเซ็นต์สัญญาฉบับเดียวได้สูงสุดกี่ปีครับ
ตอบเบื้องต้นนะครับ1.ปกติที่มักทำกันคือลงวันที่ล่วงหน้า ต่อจากสัญญาเดิม2. ตอบ2แบบนะครับ2.1.ถ้าจะให้มีผลคุ้มครองโดยจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน เช่าสูงสุดได้30ปีครับ2.2.ถ้าที่มักจะทำกัน(แบบเลี่ยงๆหรือเสี่ยงๆหน่อย) ทำ6 ปี ทำ10ปี ก็มีครับ มีหลายแบบ จะเขียนสูงสุด 30 ปีก็ได้ แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน เวลามีปัญหาจะบังคับกันได้ 3 ปีครับ
อ่านคอมเม้นท์นี้แล้วชัดเจนครับ
@@tritacha ครับผม ^_^
ขอสอบถามครับ1.ผู้เช่าถ้าทราบว่าสัญญาเช่าฉบับ2ไม่มีผล เขาจะไปฟ้องลาภมิครรได้ไหมครับ2.พืชผลที่ผู้เช่าเพาะปลูกไม่เป็นส่วนควบของที่ดินและก็ยังคงเป็นของผู้เช่าอยู่หรือป่าวครับถึงแม้ว่าเขาจะขายไปให้คนใหม่แล้ว
ขอตอบตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับประเด็นที่ 1. ถ้าคำว่า "เขา" หมายถึง ตัวผู้เช่า จะไปฟ้องผู้ให้เช่า ในฐานะลาภมิควรได้ จากเหตุนิติกรรมไม่สมบูรณ์ หรือ สัญญาไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย นั้น ผู้ให้เช่าต้องคืนค่าเช่า ที่รับล่วงหน้า และผู้เช่า ต้องเคลียร์พื้นที่เช่าให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ซึ่งผู้เช่าจะคุ้มหรือไม่ อันนี้ตอบไม่ยากครับประเด็นที่ 2. พืชผลที่ปลูก ถ้าเป็นไม้ยืนต้น จะข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครปลูก ต้นไม้จะถือเป็นส่วนควบของที่ดิน ซึ่งตกเป็นของผู้ให้เช่า แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นของผู้เช่า เป็นผู้ปลูก กรรมสิทธิของต้นไม้ก็เป็นของผู้เช่า แต่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง และไม่ได้เงื่อนไขอื่นๆระบุในสัญญาเช่า ปกติผู้เช่าจะไม่รื้อถอน ทำลายอยู่แล้วครับ เพราะไม่คุ้ม มีแต่จะขอเช่าต่อเพื่อเก็บดอกผลต่อไปเรื่อยๆ กรณีที่เขาไม่ให้เช่าต่อ ถ้าจะอ้างกรรมสิทธิต้นไม้ที่ปลูก จะขุดออกไป หรือจะทำลาย ทิ้งก็ทำได้ แต่จะคุ้มไหมแค่นั้นหละครับ เพราะทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้นเลยครับดังนั้น ก่อนตกลงทำสัญญาเช่า ต้องประเมินความเสี่ยงให้ชัดเจนแต่แรกจะดีที่สุดครับ ขอบคุณที่เข้ามาสอบถามแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ เป็นประโยชน์แก่ตัวผมเอง ที่ได้ค้นหาความรู้กฎหมายเพิ่มเติม และเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ามาอ่านต่อไปด้วยครับ ^_^
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณนะครับ ผมกำลังเรียนกฎหมายเรื่องเช่าทรัพย์อยู่ คลิปนี้มีประโยชน์มากๆครับเป็นกำลังใจให้ครับ
@@riewlight ขอบคุณครับผม ^_^
ในกรณีที่เลิกสัญญาหรือครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้า1.ต้นมะนาวผู้เช่าปลูกไว้แล้วไม่ยอมรื้อถอน ผู้ให้เช่า มีสิทธิ์รื้อถอนเองหรือเอาผลไปขายได้หรือไม่ครับ จะโดนข้อหายักยอกรัพย์หรือลักทรัพย์หรือไม่ครับ2.กรณีเป็นมะนาวที่ผู้ให้เช่าเป็นผู้ปลูก แล้วให้เช่ามาทำการสวนมะนาวที่ผู้เช่ามาบำรุงรักษาดูแลเก็บเกี่ยวผลไปขาย เมื่อมีการยกเลิกสัญญาหรือครบกำหนดสัญญาเลิกสัญญา ผู้เช่าไม่ยอมออกจากที่ดินและยังมีการเก็บเกี่ยวผลไปขายอีก ผู้ให้เช่าสามารถแจ้งความยักยอกทรัพย์หรือลักทรัพย์ได้หรือไม่ครับ3.ถ้าสัญญาให้ทำสวนมะนาวแต่ผู้ให้เช่าไปปลูกมะละกอเพิ่มด้วยและเก็บเกี่ยวเอาผลมะละกอไปขาย ต้องถือว่าเป็นการผิดสัญญาการเช่าใช่มั้ยครับและผู้ให้เช่าสามารถเอาเป็นเหตุให้เลิกสัญญาได้มั้ยครับ
คำถามน่าสนใจมากครับ ขอตอบตามข้อเท็จจริงที่เท่านั้น+ข้อกฎหมายคร่าวๆ+ความเห็นส่วนตัว ประมาณนี้นะครับ1.ต้นมะนาวอาจไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดินตามกฎหมายแพ่ง แต่เมื่อเลิกสัญญา/สิ้นสุดสัญญาไปแล้วไม่ยอมรื้อถอน ถ้าไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดในสัญญา กรรมสิทธิ์ย่อมตกเป็นของผู้ให้เช่า/เจ้าของที่ดิน จะทำอะไรก็ได้ครับ2.ถ้าสิ้นสุดสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่ามีสิทธิดำเนินคดีอาญาได้ครับ ส่วนจะชนะหรือไม่ ต้องนำสืบข้อเท็จจริงต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไปครับ3.ถ้ากำหนดในสัญญาชัดว่าปลูกมะนาวเท่านั้น การปลูกอย่างอื่นย่อมผิดเงื่อนไขสำคัญแห่งสัญญา ที่ผู้ให้เช่าใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ครับ
ผู้เช่าเสียเปรียบเงื่อนเวลา เพราะวันเวลาฉบับที่2ยังไม่มีผลตามกฏหมาย ถ้าขายหลังจากวันเวลาที่ระบุในฉบับที่2 สัญญาถึงมีผลผูกมัด แสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่เก่ามีที่ปรึกษา ถึงกล้าขายก่อนวันหมดสัญญาฉบับที่1
เป็นเช่นที่ท่านกล่าวมาได้ครับผม
อยากทราบว่าการทำสัญญาเช่าที่ดิน ทำที่บ้านหรือว่า ต้องไปทำที่ สนง.ที่ดินคะ และต้องติดอากรแสตมป์ด้วยไหมคะ
ถ้าทำสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปี ทำกันเองที่ไหนก็ได้ครับ แต่ถ้าจะเช่ากันเกินกว่า 3 ปี ทำสัญญากันเองก่อน และนำสัญญาไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดินครับ จึงจะมีผลคุ้มครองตามกฎหมาย ส่วนว่าจะติดอากรแสตมป์หรือไม่ เป็นไปตามกฎหมายประมวลรัษฎากร ตามลิงก์นี้เลยครับ www.rd.go.th/6162.htmlสรุปคร่าวๆ เรื่องอากรสัญญาเช่า คือ ค่าเช่าตลอดสัญญารวมกัน ทุกๆ 1,000 บาท เสียค่าอากร 1 บาท แต่ถ้าเช่าทำไร่ทำนาทำสวน ไม่เสียค่าอากรครับ
สรุปเลยคะ สัญญาฉบับที่ 1 ไม่มีปัญหา ฉบับที่ 2 โมฆะไป ใช้บังคับ กับเจ้าของใหม่ไม่ได้ สรุปแบบนี้ได้ไหม ฟังวนไปวนมา
สรุปแบบนี้ได้อยู่ครับ เพียงแต่ว่าถ้าระยะเวลาเช่นของสัญญาฉบับที่2เริ่มเดินแล้ว(หมดสัญญาฉบับที่1)ก็จะมีผลบังคับจนครบ3ปีไปผูกพันเจ้าของใหม่ได้ครับ
@@storytellingbypichailawyer ใช่ค่ะ เราหมายความแบบนั้น ถ้าระยะเวลาฉบับที่ 2 ยังมาไม่ถึง เจ้าของใหม่ไม่ยินยอมที่จะให้เช่าต่อ สุดท้ายเป็นเรื่อง ต้องฟ้องอีก
@@pattanapaeporn5098 เยี่ยมเลยครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและสรุปความเข้าใจนะครับ 😊
ถ้ากฎหมายคุ้มครอง3ปีใช้กับสัญญาฉบับเดียวที่เกินสามปีที่ไม่จดทะเบียน งั้นถ้าต้องการจะเช่า12ปีก็ทำสัญญาไว้เลย4ฉบับๆละ3ปีก็ได้หรือครับ
@@eadjimpakchotanon5970 ถ้าไม่จดทะเบียนการเช่า แต่เลือกทำสัญญาเช่า 3 ปี 4 ฉบับ ก็ตอบว่าทำได้ครับ ปัจจุบันก็ยังมีคนทำกันอยู่ครับ เพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย เพียงแต่เวลาที่คู่สัญญามีปัญหากันจะคล้ายๆกับเรื่องเล่าคือ บังคับกันได้แค่ฉบับแรก ฉบับที่ 2 บังคับได้ในลักษณะคำมั่นว่าจะให้เช่า ส่วนฉบับที่ 3-4 ไม่มีผลบังคับกันตามกฎหมายครับผม
การเช่าที่ดินทำการเกษตรไม่ต้องทำสัญญาเช่าก็จะมีผลบังคับผู้ให้เช่า6ปีใช่่ไหมครับ? และการขายที่ดินแปลงที่เช่าต้องบอกขายแก่ผู้เช่าก่อนคนอื่นใช่ไหมครับ? ขอความชัดเจนด้วยครับ
การขายให้คนอื่น จะบอกหรือไม่บอกผู้เช่าก็ได้ครับ เว้นแต่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่าก่อนขายคนอื่น ต้องแจ้งผู้เช่า เพื่อให้ผู้เช่าพิจารณาซื้อก่อน ถ้าไม่ซื้อขายคนอื่นได้ ประมาณนี้ครับ เพราะอย่างไรสัญญาเช่าจะผูกพันไปยังคนซื้อใหม่อยู่แล้วครับแต่สัญญาทำเกษตร 6 ปี ต้องจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดินนะครับ ถึงจะบังคับกันได้6ปี ถ้าไม่จด จะฟ้องบังคับสัญญาเช่ากันได้ 3 ปีครับ กรณีจะเข้าเงื่อนไขเช่า 6 ปีได้ ต้องเป็นการเช่าทำนานะครับ ไปตามดูอีกคลิปได้เลยครับ ruclips.net/video/rJMhpv_voVM/видео.html
ใช่ครับเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดินเพิ่อเกษตรกรรม
@@kP0068 ถ้าเป็นเช่านา จะต้องบอกขายผู้เช่านาก่อน ถ้าไม่บอก แจ้งให้คนซื้อใหม่โอนขายให้ผู้เช่านาได้ รายละเอียดเป็นไปตาม พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครับแต่ประเด็นอยู่ที่ เป็นสัญญาเช่านา หรือเช่าทำเกษตรกรรม ตรงกับที่กำหนดไว้ในพรบ.หรือไม่ครับ ถ้าไม่ตรง จะไปบังคับตามกฎหมายทั่วไป คือ กม.แพ่งและพาณิชย์ ครับผม
ขอสอบถามผู้เช่าจะขอเช่าที่ดินเพื่อปลูกกัญชา ควรระบุวัตถุประสงค์ในการใช้ทีาดิน ในสัญญาเช่า ว่าอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ผมขอแยกตอบเป็น 2 ประเด็นนะครับ1.ถ้าจะให้เช่าแบบถูกต้องตามกฎหมาย ต้องคุยกับผู้เช่าให้ชัดเจนนะครับ มีความประสงค์จะปลูกกัญชา เพื่อใช้ในครัวเรือน หรือปลูกใช้เพื่อการค้า เพราะกรณีเพื่อใช้ในครัวเรือน ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องแจ้งลงทะเบียนกับอย. ส่วนกรณีใช้เพื่อการค้า ต้องขออนุญาตกับอย.ก่อน ซึ่งมีรายละเอียดมาก(ลองค้นกูเกิลดูนะครับ)และจะต้องแสดงหลักฐานการทั้ง2 กรณีมาพร้อมการเช่า และระบุชัดเจนในสัญญาเช่าว่า ผู้เช่ารับรองว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หากละเมิดสัญญาหรือกระทำผิดกฎหมาย ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่า และถือว่าสัญญาเช่าเลิกกัน#ระบุเงื่อนไขให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ให้เช่าหรือเจ้าของที่ดิน ไม่เสี่ยงผิดกฎหมายไปด้วยครับ2.ถ้าทำเป็นไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็ระบุเป็นการเช่าเพื่อทำการเกษตร และในสัญญาเช่าระบุกว้างๆไปว่า ผู้เช่าจะไม่นำพื้นที่เช่าไปกระทำการ หรือดำเนินการใดๆ ในทางผิดกฎหมาย ประมาณนี้ ครับแล้วแต่ความสบายใจ ซึ่งทั้ง2 ตัวเลข จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไปครับ ซึ่งในส่วนที่ต้องเสี่ยงมากตามข้อ 1. ค่าเช่าจะต้องสูงกว่าข้อ 2. ด้วยนะครับปล.คำตอบข้างต้น ล้วนเป็นความเห็นส่วนตัวประกอบกับข้อกฎหมายเบื้องต้น และประสบการณ์ของแอดมินเองนะครับ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดต้องขออภัยล่วงหน้าครับผม
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณมากๆครับ
@@woppram4847 ยินดีครับผม ฝากติดตามช่องยูทูปด้วยนะครับ ^_^
คลิปนี้มีประโยชน์และคำแนะนำดีมากๆค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ เป็นกำลังใจได้ดีมากเลยครับผม 😊
กลับกันถ้าผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่าล่ะจะเป็นยังไง😅
ถ้าผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า แน่นอนกลายเป็นผิดสัญญาเช่า ซึ่งก็จะกลายเป็นถูกบอกเลิกสัญญาเช่า หรือถูกฟ้องขับไล่กรณีไม่ออกจากพื้นที่เช่า ซึ่งมีเคสนึงที่ผมเคยเจอ ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าผิดสัญญาและเรียกค่าเช่าที่ค้าง+ค่าเช่าที่ยังไม่ถึงกำหนดตลอดสัญญามาด้วย และชนะคดีด้วยครับ เรียกว่าเคสนั้นผิดสัญญาเช่าแล้ว ยังต้องยอมรับผิดค่าเช่าจนครบสัญญาไปด้วยครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสัญญาเป็นกรณีๆไปนะครับ
ทำได้ครับ แต่ถ้าใม่จดทะเบียน ผิด กม ท่าน อธิบายไห้ตรงด้วย
ถ้าเช่าเกิน3ปี และไม่ได้จดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน ไม่ได้หมายความว่า สัญญาใช้ไม่ได้ หรือผิดกฎหมายนะครับ สัญญายังมีผลบังคับกันระหว่างคู่สัญญาตลอดสัญญาครับ เพียงแต่เวลาที่มีปัญหา จะฟ้องบังคับกันได้เพียง3ปี ตามที่กฎหมายกำหนดครับถ้าจะให้มีผลฟ้องบังคับกันเกินกว่า3ปี ต้องจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดิน และสูงสุดจดเช่าได้ 30ปีครับผม
อันนี้ไม่เข้าใจว่าหมายความว่ายังไง?หมายความว่าเมื่อเกินสามปีแล้วผู่ให่เช่าและผู้เช่าจะขอเลิกสัญญากัยอีกฝ่ายได้ทุกเมื่อใข่มั้ยครับ?หรือว่าการทำผิดเงื่อนไขสัญญาทำให่อีกฝ่ายไม่สามารถบังคับหรือฟ้องให้ฝ่ายที่ทำผิดสัญญาให้ปฏิบัติให้เป็นไปตาาัญญาได้ครับ??
@@eadjimpakchotanon5970 หากครบ 3 ปี ตามสัญญาฉบับแรกแล้ว เริ่มนับสัญญาฉบับที่ 2 แล้วก็จะมีผลบังคับตามกฎหมายได้ครับ กลับกลายสัญญาชอบด้วยกฎหมายเพราะเริ่มนับระยะเวลาใหม่ แต่ถ้าสัญญาฉบับแรกยังไม่ครบกำหนด แต่เจ้าของที่ดินไม่ให้เช่าต่อ สัญญาฉบับที่ 2 จึงเป็นอันยกเลิกไป ผู้เช่าจะไปฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาฉบับที่ 2 ไม่ได้ครับ
ใบที่2เสียเปรียบเต็มๆทำไมไม่ทำสัญญา6ปีไปเลยล่ะเจ้าของที่หัวหมอแบบนี้ ทำไม
ทำสัญญาเช่า6 ปี ถ้าไม่ได้ไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ก็บังคับได้เพียงแค่3 ปีอยู่ดีครับ จึงเป็นที่มาว่าทั้งสองฝ่ายมักทำสัญญาเช่า 3 ปี 2 ฉบับครับ บางเคสทำเช่า3ปีไว้10ฉบับเลยก็มีครับผม
ให้เช้าที่ดินไว้แล้ว มันหมดสัญญาแล้วปี66 เราแจ้งผู้เช่าแล้ว ว่าเราจะไม่ต่อ แต่ผู้เช่าไม่ยอมออก ต้องทำยังไงดีครับ
ลักษณะที่เช่าเป็นที่ดินเปล่า หรือมีบ้านอยู่อาศัยด้วยครับ
ฟ้องขับไล่ เหมือนรายนี้
สรุป ต้องทำสัญญาเช่ากับคนใหม่ถึงถูกต้อง ใช่ไหมครับ
ใช่ครับผม
ผมทำสัญญาไว้ 2 ปีแต่ผู้เช่าให้ผมเช่า 2 เดือนผมจะทำยังงัยต่อครับ
เราเป็นผู้เช่าใช่ไหมครับ?ถ้าใช่ ก็ไม่ต้องออกจากพื้นที่เช่าครับ เพราะเราไม่ได้ผิดสัญญา กฎหมายคุ้มครองครับ ถ้าผู้ให้เช่าจะให้เราออกก่อน ต้องชดเชยจนเราพอใจครับ มิเช่นนั้น ก็เช่าอยู่ต่อไปจนครบสัญญาเช่า2ปีครับ
รบกวนสอบถามค่ะ ทำสัญญาเช่าบ้าน2 ฉบับไมได้จดทะเบียนกับที่ดินเพราะไม่รู้กม. ฉบับแรก3ปีและ2ปี และใกล้จะหมดสัญญาฉบับที่สอง ผู้เช่าค้างค่าเช่าจ่ายไม่ครบ ไม่ตรงเวลา. ดิฉันสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้หรือป่าวค่ะ
ถ้าระยะเวลาเข้าสัญญาฉบับที่ 2 แล้ว มีผลบังคับตามกฎหมายครับ ส่วนที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า บอกเลิกสัญญาได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาได้เลยครับ
น่าจะมีคำพิพากษาฎีกา ประกอบด้วย
คำพิพากษาฎีกาเทียบเคียง ดูได้ที่ลิงก์นี้ครับ deka.in.th/view-50677.html แต่ฎีกาอาจไม่ตรงเรื่องราวเสียทีเดียวนะครับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องยึดข้อกฎหมายตามปพพ.มาตรา 538 เป็นหลักครับผมปล.ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ ☺
จะให้ปรึกษา ทนายใก้สู้ทั้งนั่น เว้นแต่พ่อหรือลูกเป็นทนาย
ต้องคุยกันก่อนครับ ว่าสู้เพื่ออะไร เพราะทนายเราก็มีหลายแบบครับ ถ้าเจอทนายแบบบอกว่าชนะชัวร์ อันนี้ก็ระมัดระวังไว้ก่อนได้เลยครับ เพราะทนายตามจรรยาบรรณวิชาชีพจะไปรับปากแบบนั้นไม่ได้ครับ เราทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลให้ศาล(ผู้พิพากษา)ทราบ และเป็นผู้ตัดสินคดีครับ ดังนั้น แพ้หรือชนะ ทนายเราจะไปตัดสินแทน ผู้พิพากษาไม่ได้ครับผม 🙂
แม่ผมเขาไม่รู้ความครับเขา(ถูกหลอกให้เซ็นชื่อ สัญญาเช่าที่แรกคุยกันว่าแค่3ปี แต่ไม่รู้ มี5แผ่น แผ่นละ3ปี เซ็นล่วงหน้าไว้ เป็น15ปี แบบนี้ทำไงดีครับ อยากได้ที่คืนมันนานไปครับช่วยตอบหน่อยนะครับ🥹
เลิกสัญญาเช่าฉบับอื่นๆได้ครับ เพราะสัญญาเช่าฉบับอื่นๆยังไม่มีผลทางกฎหมายครับ มีแนวทางแก้ไขได้หลายวิธีครับ มีข้อสงสัยหรือปรึกษาเพิ่มเติมทางไลน์นะครับผม
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณๆมากๆนะครับ
@@parelove2302 ยินดีครับผม
สวัสดีครับ ผมรบกวนสอบถามหน่อยครับ ถ้าผมจะ เช่าที่ดินทำเกษตร ผู้ให้เช่า ให้ทำสัญญา 3 ปี จำเป็นไหมครับ ในสัญญาผมต้องระบุว่า 1 ให้ผมต่อสัญญาในครั้งต่อไป ( ในกรณี ผมลงทุนไปเยอะ กลัวเขาไม่ต่อสัญญาฉบับใหม่ให้ครับ ) 2 ในสัญญาต้อง ระบุ ไหมว่า ให้คิดอัตราค่าเช่า อย่างไร เช่นขึ้น ครั้งละ ไม่เกิน หนึ่งพันบาท ต่อ ไร่ ในการต่อสัญญา หรือ ข้ออื่นที่จำเป็น ต่อการทำสัญญา รบกวน แนะนำ ผมด้วยครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ถ้าคิดว่าจะเช่าเกินกว่า 3 ปีอยู่แล้ว แนะนำให้ระบุระยะเวลาเช่าตามจำนวนปีที่กำหนดไว้และไปจดทะเบียนการเช่าที่สนง.ที่ดินครับ
ถ้าแน่ใจว่าให้เช่า 6 ปรอน่นอนทำไมไม่ไปจดทะเบียนเช่า 6 ปีไปเลยอ่ะคะ
ถูกต้อง ควรเป็นเช่นนั้นครับแต่ในทางปฏิบัติ/ทางความเป็นจริง เจ้าของที่ดิน เขาไม่ยอมไปทำให้ครับ ส่วนผู้เช่าอยากเช่าที่ดินมาก เจ้าของว่าไง ก็ต้องตามนั้น ไม่งั้นก็ไม่ได้เช่า อำนาจต่อรองต่างกันครับ หรือราคาค่าเช่าอาจไม่ใช่ราคาตลาด อาจจะแพงกว่านั้นมาก เพราะเจ้าของที่ดินต้องเสียเวลาไปสำนักงานที่ดิน และต้องเสียภาษีทันทีโดยไม่รู้ว่าผู้เช่าจะผิดสัญญาไหม/ต้องผูกพันการเช่าไว้หลังโฉนดที่ดิน/จะยกเลิกการเช่ายุ่งยากกว่าปกติมาก และอีกหลายอย่างครับ แต่ถ้าเจอเจ้าของที่ดินที่ยินยอมไปทำให้/มอบอำนาจไปให้ทำเองก็ดีไป ถือว่าตกลงพร้อมใจ และสบายใจกันทั้งสองฝ่ายครับ
มีคนจะมาเช่าที่ปลูกบ้านหลังเล็กๆ(มีคนมาปลูกแล้วหลายหลัง)แต่คนเช่าคนนี้เขาอยากจะขุดบ่อบาดาลเพื่อเอาน้ำมาขายให้พวกบ้านหลังอื่นๆ เจ้าของที่จะทำอย่างไรครับ แยกสัญญาหรือเปล่า ขอบคุณครับ
เขียนรวมหรือแยกได้ครับ แต่ต้องเขียนข้อสัญญาให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความเสี่ยงอื่นๆ เช่น การขออนุญาต ความปลอดภัย และกรรมสิทธิของบ่อบาดาลเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแบบปกติและแบบผิดสัญญาครับ
@@storytellingbypichailawyerขอบพระคุณครับท่าน อ้อ เขาขายน้ำเราจะต้องได้รายได้จากตรงนี้มั้ยหมายถึงส่วนแบ่งจากการขาย หรืออย่างไรครับ...ถ้าจะอธิบายให้ละเอียดก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง.
@@komkritpanichjaroen2640 รายได้จากการขายน้ำ ตกลงกันได้ ระบุให้ชัดเจนในสัญญาเลยครับ จะได้ไม่มีปัญหากันภายหลังครับ ถ้าระบุแล้วอาจจะมีปัญหา อาจจะต้องทบทวนกันใหม่ ว่าไม่ให้เจาะบ่อบาดาลครับ
@@storytellingbypichailawyer กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับผม
@@komkritpanichjaroen2640 ยินดีครับผม
🙏🎉🎉🎉
🙏 ขอบคุณครับผม
อยากถามเรื่องสัญญาเช่าค่ะทำสัญญา5ปีไม่ได้เหรอค่ะ
ทำได้ครับ เพียงแต่ว่าเวลาที่มีปัญหาทะเลาะกัน จะฟ้องบังคับกันได้แค่ 3 ปีครับ
คุณขึ้นต้นมาว่า เช่าที่ดิน เพื่อทำสวน ดังนั้นต้องบังคับตาม พรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ใช่ ปพพ.
ขออนุญาตตอบท่าน ดังนี้ครับ1.เรื่องที่นำมาเล่าเป็นคดีความจริงที่ฟ้องร้องกันที่ศาลนะครับ ทางโจทก์ฟ้องมาตาม ปพพ.ครับ และจำเลยก็ไม่ได้หยิบยก พรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นข้อต่อสู้ และคดีจบไปเช่นนั้น จึงไม่มีการวินิจฉัยไปถึงว่าบังคับตามกฎหมายฉบับใด และผมไม่ได้เป็นทนายความในคดีดังกล่าวครับ2. แต่หากดูข้อกฎหมายโดยละเอียดตามพรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ mis.dopa.go.th/dopalaw/law_file/164_03032017585535469.38798.pdf ในมาตรา 5 นิยามคำว่า เกษตรกรรม ไว้กว้างมาก ซึ่งรวมถึง ทำสวน ด้วย แต่ในเนื้อหาข้อกฎหมายในพรบ.ข้างต้น หน้าที่ 9 หมวดที่ 2 จะกำหนดคุ้มครองเพียงการเช่านา ครับ ผมจึงมีความเห็นว่า พรบ.ฉบับนี้ ยังไม่ได้คุ้มครองไป การเช่าทำเกษตรกรรมอื่น หรือ เช่าทำสวน จึงต้องบังคับโดยกฎหมายทั่วไป ปพพ. เหมือนเดิมครับ3.ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันนะครับ หากผมมีความเห็นผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยล่วงหน้าครับ
ดูเหมือนโหดร้ายจังนะคะสงสารผู้เช่า แต่ก็เป็นบทเรียนให้ผู้เช่าควรตรึกตรองให้ดีก่อน
ไม่นานมานี้ก็มีอีกเคสลักษณะนี้ครับ แต่ผู้เช่าก็ยังไม่เชื่อคำเตือนครับ ผมก็ได้แต่หวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆกับคลิปนี้ครับ😊ปล.ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ
ขอเบอร์โทรทายพิชัยหน่อยค่ะ
เบอร์โทรผม 0875664607 ครับ
ทนายไหยจะบอกว่าจะไม่ให้สู้ มันอยากได้เงินค่าวัดดวงอีก ว้า ทนาย
สู้หนะสู้ได้ครับ แต่ต้องจับหลักหรือคุยประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่า สู้เพื่ออะไรครับ โอกาสมีแค่ไหน เช่น สู้เพื่อให้ได้ระยะเวลาเช่าต่อเนื่อง เพื่อเก็บผลประโยชน์ในที่ดิน ถ้าคุ้มก็สู้ไปได้ครับ แต่ถ้าสู้เพื่อเอาชนะคดี อันนี้ก็ต้องดูประเด็นข้อกฎหมายให้ชัดเจนครับ ถ้าไม่เคลียร์ก็ต้องแจ้งให้ลูกความทราบและตัดสินใจเองครับว่าจะสู้ต่อหรือเจรจาต่อรองครับผมปล.ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะนะครับ 🙂
ฉบับที่ 2 ผู้ให้เช่าไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว
นั่นคือปัญหาเลยครับ จะเอาสิทธิสัญญาเช่าที่ไม่มีผลบังคับบุคคลภายนอกไปอ้างกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ใหม่ยากครับ
ไม่ชอบมาพากล.... เลห์เหลี่ยม.. กรมที่ดินดีสุดจ่ายค่าสัญญาให้หลวงเปนภาษีตามกรมที่ดินกำหนด
ตอนเริ่มสัญญาอาจไม่มีเจตนาร้ายใดๆ แต่ในอนาคตอะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ และในทางปฏิบัติจริง มักทำกันแบบนี้เยอะครับ จึงนำมาเล่าเตือนกันไว้ก่อนครับผม 😊
อ่าวทำสัญญาให้ผู้เช่าไป15 ปีแล้ว ไม่ได้เหรอ?😂 ดูมันสั้นๆเอง3ปีเขาลงทุนไปเปนล้าน ฉันเป็นเจ้าของบ้านใจดีเหรอ
ถ้าไม่ทะเลาะกันในอนาคต ไม่มีปัญหาครับ แต่หากให้สบายใจแนะนำให้ไปจดทะเบียนการเช่าที่สนง.ที่ดินครับ
@@storytellingbypichailawyer ถ้าจดทะเบียทำได้ยาวกี่ปีครับ ตอบเร็วมาก ตกใจๆ😂
ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมายได้ 30 ปีครับ
แล้วมีเหตุผลอย่างไร ที่บางคน ไม่ไปจดทะเบียนที่ สนง ที่ดินครับ ขอความรู้ครับ กำลังจะเช่า ทำสวน ระยะยาว@@storytellingbypichailawyer
ส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายเจ้าของที่ดินมากกว่าครับ ที่มักจะไม่ไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดิน เพราะ 1.ยุ่งยากเสียเวลา 2.ต้องเสียภาษีทันทีคำนวณจากค่าเช่าตลอดสัญญา 3.มีภาระผูกพันเพราะต้องลงบันทึกการเช่าไว้หลังโฉนดที่ดิน ยากต่อการขาย ทีนึกออกประมาณนี้ครับ
สรุปแบบชาวบ้านเข้าใจง่าย..ก็คือฉบับที่ 2 บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาเช่าเท่านั้น แต่ผู้ซื้อที่ดินรายใหม่ไม่ได้มีรายชื่ออยู่ในสัญญาเช่าแม้จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินผืนนั้นก็ตาม สัญญาเช่าฉบับที่ 2จึงไม่เกิดใช่ไหมครับวานบอก..ผมเป็นคนเข้าใจอะไรยากแต่เชื่อคนง่ายครับ😊😊
เข้าใจได้ถูกต้องแล้วครับผม👍ทั้งนี้ อาจรวมถึงกรณีที่ ถ้าผู้ให้เช่าเสียชีวิต สัญญาไม่มีผลผูกพันไปถึงทายาทที่ได้รับมรดกที่ดินนี้ และถ้าที่ดินถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดไปเป็นเจ้าของใหม่แล้ว ก็เช่นกันครับผม 😊
ที่นี้อาจจะมีประเด็นเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าทำสัญญาเช่า 3 ปี 10 ฉบับ ผลของสัญญาเช่าฉบับที่ 2 จะใช้ได้เมื่อหมดสัญญาฉบับแรก และสัญญาเช่าฉบับที่ 3-10 นั้น ยังไม่มีผลทางกฎหมายที่จะผูกพันคู่สัญญา ถ้ายังไม่หมดสัญญาฉบับก่อนหน้าครับ
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณครับ🙏🙏🙏🙏🙏
@@ancleyutt ยินดีมากเลยครับ ขอบคุณที่คอนเมนต์สอบถามเพิ่มเติม และติดตามรับชมนะครับ 😊
ไอ้เจ้าของเดิมมีเจตนาจะโกงตั้งแต่แรก ผู้เช่าคงรู้นะจะจัดการใคร เจ้าของใหม่ก็จัดการด้วยคิดค่าปรับโหดเดินไป
เจ้าของที่ไม่ควรขาย ควรโดน ...อะไรสักอย่าง
ใจเย็นๆครับผม ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี สำหรับผู้ที่กำลังจะทำสัญญาเช่าครับ
แล้วทำไมไม่บอกว่าการทำที่ถูกต้องมันต้องทำยังไง
ขอเรียกว่าคำแนะนำนะครับ ว่าถ้าจะเช่ากันมากกว่า 3 ปี ให้ไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดินครับผม เพราะที่ทำไปก็ไม่ได้ผิด แค่กฎหมายไม่คุ้มครองครับ ยังบังคับใช้กันต่อไปได้ จนกว่าจะมีปัญหาดังเช่นเรื่องราวที่นำมาเล่าครับ การป้องกันปัญหาที่ดี คือ ถ้าไม่ไปจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน ก็ไม่ควรเช่าแต่แรกครับผม
การป้องกันไว้ก่อนย่อมได้เปรียบก่อนเกิดผลกระทบทีหลัง
ถูกต้องเลยครับ 😊
เรียนถามครับที่มรดกแบ่งกันแล้วแต่ไม่ได้อยู่ดูแลให้พี่น้องทำกินจะต้องทำสัญญาหรือกรณีใดบ้างครับวันข้างหน้าจะได้ไม่มีปัญหาตามาขอบคุณครับ
แบ่งกันแล้ว หมายถึง รังวัดแบ่งแยกโฉนดเป็นของตนเองกันแล้วใช่ไหมครับ ถ้าใช่ และให้พี่น้องหรือญาติทำกินใช้ประโยชน์หรือดูแลแทน ควรทำเป็นสัญญาเช่าไว้นะครับ ป้องกันปัญหาในอนาคตได้หลายอย่างมากครับ
ทำสัญญาเช่าจะต้องไปที่กรมที่ดินใช่มั้ยครับขอบคุณครับ
@@malikhembut4146 ถ้าเช่า 3 ปี ไม่ต้องไปทำที่สนง.ที่ดินครับแต่รังวัดแบ่งแยกกันชัดเจนแล้วนะครับ ไม่อยากให้มีปัญหากันภายหลังครับ
มีตัวอย่างสัญญาที่ถูกต้องมายกให้ดูจะดีมาก
เดี๋ยวนำตัวอย่างสัญญาเช่าประเภทเดียวกับเรื่องเล่ามาให้ดูนะครับ เพื่อเป็นแนวทางครับ
ท่านใดประสบปัญหาเหมือนเรื่องราวในคลิป ปรึกษาหรือสอบถามเข้ามาได้นะ
ผมยินดีให้คำแนะนำ ติดต่อได้ที่ช่องทางนี้นะครับ
Line : lin.ee/MbBWvDt หรือ
กดติดตามเพจผมได้ที่ facebook.com/storytellingbypichailawyer
#ทนายพิชัย
@@kitlawonyavuth4375 อุ้ย ต้องขออภัยด้วยนะครับ คลิปต่อไปจะปรับปรุงให้ดีขึ้นและกระชับเนื้อหาให้สั้นกว่านี้ครับ
ขอบคุณที่คอมเมนต์แนะนำนะครับ 😊
มีทื่มรดกแบ่งกันแล้วแต่ไม่ได้ดูแลให้พี่น้องทำกินจะต้องทำอย่างไรบ้างครับวันข้างหน้จะได้ไม่เกิดปัญหาและถ้าทำจะต้องพากันไปทำธุระกรรมที่กรมที่ดินมั้ยชอบคุณครับ
@@malikhembut4146 ถ้าให้เช่าไม่เกิน 3 ปี ทำกันเองได้ครับ แต่ถ้าเช่าเกิน3ปี ควรจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดินครับ
ขอบคุณครับ
@@malikhembut4146 ยินดีครับ
ไหนบอกว่าผู้ซื้อใหม่รู้ว่ามีสัญญาเช่า 3 ปี 2 ฉบับและจะให้เช่าต่ออีก แล้วจู่ๆทำไมมาไม่ให้เค้าอยู่ต่อจนครบ 6 ปี
พูดกันปากเปล่า วันก่อนพูดอย่าง วันหน้าอาจเป็นอื่นได้ครับ
ดังนั้น ทางที่ดีคือทำสัญญาให้รอบคอบรัดกุมครับ เรื่องเล่านี้จึงเป็นอุทาหรณ์เตือนใจได้ดีครับผม
มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ 😀
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับท่านเติ้ล ^_^
ค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกัน มักมีราคาถูกกว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อการแก้ปัญหาเสมอ 👍
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ ^_^
#ทนายพิชัย
เอาจริงๆผมว่าก่อนจะทำอะไรก็ควรจะปรึกษาทนายก่อนก็จะไม่มีปัญหาแบบนี้ตามมา เห็นใจคนเช่าเลยครับ แต่ก็ยังดีที่เรื่องนี้กลายมาเป็นประโยชน์ให้คนอื่นได้ทราบ ขอบพระคุณสำหรับความรู้ครับ
ยินดีที่ได้แบ่งปัน และขอบคุณสำหรับการติดตามรับฟังนะครับ ^_^
เคยเจอมาแล้วเมิ่อ50ปีก่อนการทำสัญญา3+3เป็นการเลี่ยงภาษีเพราะสัญญาเช่าเกิน3ปีต้องจดทะเบียนและเสียภาษีเรืองนึ้ไมีใช่เรืองใหม่
ใช่ครับ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังคงไม่ให้ความสำคัญกันครับ ทั้งที่การเสียภาษีจากการเช่าก็ไม่ได้แพงขนาดนั้น เมื่อเทียบกับปัญหา/ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อไปครับ
ขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ ^_^
ต้องระบุเงื่อนไขไว้ในฉบับแรกให้ชัดเจนเพื่อให้ผูกพันฉบับที่สองเช่นถ้าขายต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในปีที่ 4-6
ควรระบุให้ละเอียดอย่างที่ท่านว่าครับ แต่มีประเด็นต้องพิจารณาต่อ คือ
1.หากสัญญาเช่ามีเจตนาเช่า 6 ปี ควรจดทะเบียนการเช่าที่สนง.ที่ดินครับ จึงจะมีผลทางกฎหมายบังคับไปตลอดและบังคับไปถึงบุคคลที่ 3 เช่น คนซื้อใหม่ ครับ
2.สัญญาเขียนระบุเงื่อนไขในฉบับ กล่าวถึงระยะสัญญาปีที่ 4-6 ได้ แต่จะบังคับกันได้แค่กับคู่สัญญา+ต้องต่อสัญญาฉบับที่ 2 แล้ว เพราะสัญญาฉบับที่ 2 ในทางกฎหมายมีสถานะเป็นเพียงคำมั่นว่าจะเช่ากัน ดังนั้น ถ้าเจ้าของที่ดินเลิกสัญญาฉบับแรก สัญญาที่2 ก็ไม่เกิดขึ้นครับ
3.การเจรจาต่อรองเพิ่มเงื่อนไขต่างๆนั้น ถ้าไม่ขัดต่อกฎหมาย ปกติเขียนได้หมด บังคับกันได้ครับ แต่ในทางความเป็นจริง สถานะของคู่สัญญาไม่เท่ากัน ผู้มีสถานะสูงกว่าเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆให้ตนเองได้เปรียบ หรือเสียเปรียบน้อยที่สุด เช่น ผู้เช่า อยากเช่าที่ดินมาก เพราะทำเลดี หรือเหมาะกับใช้ประโยชน์ ส่วนผู้ให้เช่า ให้ใครเช่าก็ได้ ใครให้ราคาสูงกว่าคนนั้นได้ไป แบบนี้เงื่อนไขสัญญาจะเอนเอียงไปทางเจ้าของที่ดิน กล่าวคือ ถ้าอยากเช่าที่ดิน ไม่ควรมีเงื่อนไขมาก เพราะคุณจะไม่ได้เช่า เป็นต้นครับ
ปล.ที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้น มีกรณีตัวอย่าง ที่หยิบยกมาเทียบเคียงกับกรณีของเรื่องเล่านะครับ ผิดพลาดประการขออภัยล่วงหน้า และขอบคุณที่คอมเมนต์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ ขอบคุณมากครับ
ขอสอบถามค่ะ ทำสัญญาเช่านาเพื่อการทำนาไว้ 5 ปี เราต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินใช่ไหมคะ แล้วต้องไปทั้งสองฝ่ายไหมคะหรือว่าเรานำสัญญาเช่าไปขึ้นทะเบียนเองได้เลย
เช่าทำนา ถ้าไม่ได้ทำสัญญาเช่าไว้ จะมีกำหนดระยะเวลาเช่าได้ 6 ปีตามกฎหมาย ลองฟังดูคลิปนี้นะครับ ruclips.net/video/rJMhpv_voVM/видео.htmlsi=gzwS7Kft4LBsl53O
แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายสะดวก จะไปจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดินได้ครับ โดยหลักจะต้องไปทำด้วยตัวเอง หรือจะมอบอำนาจให้อีกฝ่ายไปดำเนินการแทนได้ครับ เรื่องเอกสารและการมอบอำนาจ แนะนำปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดิน ของสนง.ที่ดินในพื้นที่ได้เลยครับ เพื่อจะได้เตรียมเอกสารครบถ้วนถูกต้องไม่เสียเวลาครับผม ^_^
กฏหมายออกด้วยคิดเองเออเองของมนุษย์ ความถูกเอารัดเอาเปรียบแบบนี้มันถูกต้องตรงไหน ออกกฏไปสิว่าถ้าผู้ให้เช่าผิดสัญญาไปขายหรือทำกินที่ให้เช่าไม่ได้ก็ปรับผู้ให้เช่าไปสิ ออกกฏแปลกๆ
หากเช่ากันเกิน3ปี ป้องกันปัญหาในอนาคตได้ ด้วยการไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดินครับ ง่ายสุดครับ
กฎหมายไม่ได้เอาเปรียบใครค่ะ มีแต่คนที่ไม่รู้กฎหมายถึงถูกเอาเปรียบ
@@gamzamylifeichoose6404 ถูกต้องครับ ส่วนกฎหมายที่ตั้งใจออกโดยกลุ่มคนที่จ้องเอาเปรียบ จะเป็นอีกกรณีนึง ซึ่งจะหยิบยกมาเล่าไม่ได้ครับ🤭🤫
@@gamzamylifeichoose6404
ใครๆก็โดนเอาเปรียบทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าคนๆนั้นจะรู้ไม่รู้กฎหมาย ถ้าเจอคนที่จอ่งจะเอาเปรียบกัน
@@phattharaphapawannwaijit3025 อันนี้ก็ถูกครับ แต่รู้ไว้ย่อมดีกว่าไม่รู้ครับ อย่างน้อยก็พอป้องกันตัวเองได้ หรือไม่ใช้ความรู้กฎหมายไปเอาเปรียบผู้อื่น เพราะเข้าใจว่าทำได้ ไม่ผิด แต่เมื่อมีกฎกติกา เขียนไว้ว่าห้ามทำ หรือทำแล้วมีความผิด จะลดความเสี่ยงการจ้องเอาเปรียบกันได้บ้าง หากเกรงกลัวต่อความผิดครับผม
ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ ^_^
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ 😊
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ ^_^
#ทนายพิชัย
สัญญาฯ ระบุการให้คำมั่น เรื่องการต่อสัญญาหรือไม่ (ต้องทำสัญญาให้ครอบคลุมการใช้ประโยชน์)
ครับผม ^_^
ให้ความรู้ดีมากครับ
ขอบคุณมากครับ เป็นกำลังใจที่ดีมากเลยครับผม ^_^
รบกวนสอบถามครับ
1. สัญญาฉบับที่สอง ตอนทำ ลงวันที่ที่ทำ วันเดียวกับสัญญาฉบับแรกไหมครับ หมายถึงวันที่ทำสัญญา ไม่ใช่วันที่เช่านะครับ
2. สัญญาเช่าบ้านหรือที่ดิน ถ้าไม่เซ็นต์3ปี มันเซ็นต์สัญญาฉบับเดียวได้สูงสุดกี่ปีครับ
ตอบเบื้องต้นนะครับ
1.ปกติที่มักทำกันคือลงวันที่ล่วงหน้า ต่อจากสัญญาเดิม
2. ตอบ2แบบนะครับ
2.1.ถ้าจะให้มีผลคุ้มครองโดยจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน เช่าสูงสุดได้30ปีครับ
2.2.ถ้าที่มักจะทำกัน(แบบเลี่ยงๆหรือเสี่ยงๆหน่อย) ทำ6 ปี ทำ10ปี ก็มีครับ มีหลายแบบ จะเขียนสูงสุด 30 ปีก็ได้ แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน เวลามีปัญหาจะบังคับกันได้ 3 ปีครับ
อ่านคอมเม้นท์นี้แล้วชัดเจนครับ
@@tritacha ครับผม ^_^
ขอสอบถามครับ
1.ผู้เช่าถ้าทราบว่าสัญญาเช่าฉบับ2ไม่มีผล เขาจะไปฟ้องลาภมิครรได้ไหมครับ
2.พืชผลที่ผู้เช่าเพาะปลูกไม่เป็นส่วนควบของที่ดินและก็ยังคงเป็นของผู้เช่าอยู่หรือป่าวครับถึงแม้ว่าเขาจะขายไปให้คนใหม่แล้ว
ขอตอบตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ
ประเด็นที่ 1. ถ้าคำว่า "เขา" หมายถึง ตัวผู้เช่า จะไปฟ้องผู้ให้เช่า ในฐานะลาภมิควรได้ จากเหตุนิติกรรมไม่สมบูรณ์ หรือ สัญญาไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย นั้น ผู้ให้เช่าต้องคืนค่าเช่า ที่รับล่วงหน้า และผู้เช่า ต้องเคลียร์พื้นที่เช่าให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ซึ่งผู้เช่าจะคุ้มหรือไม่ อันนี้ตอบไม่ยากครับ
ประเด็นที่ 2. พืชผลที่ปลูก ถ้าเป็นไม้ยืนต้น จะข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครปลูก ต้นไม้จะถือเป็นส่วนควบของที่ดิน ซึ่งตกเป็นของผู้ให้เช่า แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นของผู้เช่า เป็นผู้ปลูก กรรมสิทธิของต้นไม้ก็เป็นของผู้เช่า แต่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง และไม่ได้เงื่อนไขอื่นๆระบุในสัญญาเช่า ปกติผู้เช่าจะไม่รื้อถอน ทำลายอยู่แล้วครับ เพราะไม่คุ้ม มีแต่จะขอเช่าต่อเพื่อเก็บดอกผลต่อไปเรื่อยๆ กรณีที่เขาไม่ให้เช่าต่อ ถ้าจะอ้างกรรมสิทธิต้นไม้ที่ปลูก จะขุดออกไป หรือจะทำลาย ทิ้งก็ทำได้ แต่จะคุ้มไหมแค่นั้นหละครับ เพราะทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้นเลยครับ
ดังนั้น ก่อนตกลงทำสัญญาเช่า ต้องประเมินความเสี่ยงให้ชัดเจนแต่แรกจะดีที่สุดครับ ขอบคุณที่เข้ามาสอบถามแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ เป็นประโยชน์แก่ตัวผมเอง ที่ได้ค้นหาความรู้กฎหมายเพิ่มเติม และเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ามาอ่านต่อไปด้วยครับ ^_^
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณนะครับ ผมกำลังเรียนกฎหมายเรื่องเช่าทรัพย์อยู่ คลิปนี้มีประโยชน์มากๆครับเป็นกำลังใจให้ครับ
@@riewlight ขอบคุณครับผม ^_^
ในกรณีที่เลิกสัญญาหรือครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้า
1.ต้นมะนาวผู้เช่าปลูกไว้แล้วไม่ยอมรื้อถอน ผู้ให้เช่า มีสิทธิ์รื้อถอนเองหรือเอาผลไปขายได้หรือไม่ครับ จะโดนข้อหายักยอกรัพย์หรือลักทรัพย์หรือไม่ครับ
2.กรณีเป็นมะนาวที่ผู้ให้เช่าเป็นผู้ปลูก แล้วให้เช่ามาทำการสวนมะนาวที่ผู้เช่ามาบำรุงรักษาดูแลเก็บเกี่ยวผลไปขาย เมื่อมีการยกเลิกสัญญาหรือครบกำหนดสัญญาเลิกสัญญา ผู้เช่าไม่ยอมออกจากที่ดินและยังมีการเก็บเกี่ยวผลไปขายอีก ผู้ให้เช่าสามารถแจ้งความยักยอกทรัพย์หรือลักทรัพย์ได้หรือไม่ครับ
3.ถ้าสัญญาให้ทำสวนมะนาวแต่ผู้ให้เช่าไปปลูกมะละกอเพิ่มด้วยและเก็บเกี่ยวเอาผลมะละกอไปขาย ต้องถือว่าเป็นการผิดสัญญาการเช่าใช่มั้ยครับและผู้ให้เช่าสามารถเอาเป็นเหตุให้เลิกสัญญาได้มั้ยครับ
คำถามน่าสนใจมากครับ ขอตอบตามข้อเท็จจริงที่เท่านั้น+ข้อกฎหมายคร่าวๆ+ความเห็นส่วนตัว ประมาณนี้นะครับ
1.ต้นมะนาวอาจไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดินตามกฎหมายแพ่ง แต่เมื่อเลิกสัญญา/สิ้นสุดสัญญาไปแล้วไม่ยอมรื้อถอน ถ้าไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดในสัญญา กรรมสิทธิ์ย่อมตกเป็นของผู้ให้เช่า/เจ้าของที่ดิน จะทำอะไรก็ได้ครับ
2.ถ้าสิ้นสุดสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่ามีสิทธิดำเนินคดีอาญาได้ครับ ส่วนจะชนะหรือไม่ ต้องนำสืบข้อเท็จจริงต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไปครับ
3.ถ้ากำหนดในสัญญาชัดว่าปลูกมะนาวเท่านั้น การปลูกอย่างอื่นย่อมผิดเงื่อนไขสำคัญแห่งสัญญา ที่ผู้ให้เช่าใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ครับ
ผู้เช่าเสียเปรียบเงื่อนเวลา เพราะวันเวลาฉบับที่2ยังไม่มีผลตามกฏหมาย ถ้าขายหลังจากวันเวลาที่ระบุในฉบับที่2 สัญญาถึงมีผลผูกมัด แสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่เก่ามีที่ปรึกษา ถึงกล้าขายก่อนวันหมดสัญญาฉบับที่1
เป็นเช่นที่ท่านกล่าวมาได้ครับผม
อยากทราบว่าการทำสัญญาเช่าที่ดิน ทำที่บ้านหรือว่า ต้องไปทำที่ สนง.ที่ดินคะ และต้องติดอากรแสตมป์ด้วยไหมคะ
ถ้าทำสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปี ทำกันเองที่ไหนก็ได้ครับ แต่ถ้าจะเช่ากันเกินกว่า 3 ปี ทำสัญญากันเองก่อน และนำสัญญาไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดินครับ จึงจะมีผลคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนว่าจะติดอากรแสตมป์หรือไม่ เป็นไปตามกฎหมายประมวลรัษฎากร ตามลิงก์นี้เลยครับ www.rd.go.th/6162.html
สรุปคร่าวๆ เรื่องอากรสัญญาเช่า คือ ค่าเช่าตลอดสัญญารวมกัน ทุกๆ 1,000 บาท เสียค่าอากร 1 บาท แต่ถ้าเช่าทำไร่ทำนาทำสวน ไม่เสียค่าอากรครับ
สรุปเลยคะ สัญญาฉบับที่ 1 ไม่มีปัญหา ฉบับที่ 2 โมฆะไป ใช้บังคับ กับเจ้าของใหม่ไม่ได้ สรุปแบบนี้ได้ไหม ฟังวนไปวนมา
สรุปแบบนี้ได้อยู่ครับ เพียงแต่ว่าถ้าระยะเวลาเช่นของสัญญาฉบับที่2เริ่มเดินแล้ว(หมดสัญญาฉบับที่1)ก็จะมีผลบังคับจนครบ3ปีไปผูกพันเจ้าของใหม่ได้ครับ
@@storytellingbypichailawyer ใช่ค่ะ เราหมายความแบบนั้น ถ้าระยะเวลาฉบับที่ 2 ยังมาไม่ถึง เจ้าของใหม่ไม่ยินยอมที่จะให้เช่าต่อ สุดท้ายเป็นเรื่อง ต้องฟ้องอีก
@@pattanapaeporn5098 เยี่ยมเลยครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและสรุปความเข้าใจนะครับ 😊
ถ้ากฎหมายคุ้มครอง3ปีใช้กับสัญญาฉบับเดียวที่เกินสามปีที่ไม่จดทะเบียน งั้นถ้าต้องการจะเช่า12ปีก็ทำสัญญาไว้เลย4ฉบับๆละ3ปีก็ได้หรือครับ
@@eadjimpakchotanon5970 ถ้าไม่จดทะเบียนการเช่า แต่เลือกทำสัญญาเช่า 3 ปี 4 ฉบับ ก็ตอบว่าทำได้ครับ ปัจจุบันก็ยังมีคนทำกันอยู่ครับ เพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย เพียงแต่เวลาที่คู่สัญญามีปัญหากันจะคล้ายๆกับเรื่องเล่าคือ บังคับกันได้แค่ฉบับแรก ฉบับที่ 2 บังคับได้ในลักษณะคำมั่นว่าจะให้เช่า ส่วนฉบับที่ 3-4 ไม่มีผลบังคับกันตามกฎหมายครับผม
การเช่าที่ดินทำการเกษตรไม่ต้องทำสัญญาเช่าก็จะมีผลบังคับผู้ให้เช่า6ปีใช่่ไหมครับ? และการขายที่ดินแปลงที่เช่าต้องบอกขายแก่ผู้เช่าก่อนคนอื่นใช่ไหมครับ? ขอความชัดเจนด้วยครับ
การขายให้คนอื่น จะบอกหรือไม่บอกผู้เช่าก็ได้ครับ เว้นแต่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่าก่อนขายคนอื่น ต้องแจ้งผู้เช่า เพื่อให้ผู้เช่าพิจารณาซื้อก่อน ถ้าไม่ซื้อขายคนอื่นได้ ประมาณนี้ครับ เพราะอย่างไรสัญญาเช่าจะผูกพันไปยังคนซื้อใหม่อยู่แล้วครับ
แต่สัญญาทำเกษตร 6 ปี ต้องจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดินนะครับ ถึงจะบังคับกันได้6ปี ถ้าไม่จด จะฟ้องบังคับสัญญาเช่ากันได้ 3 ปีครับ
กรณีจะเข้าเงื่อนไขเช่า 6 ปีได้ ต้องเป็นการเช่าทำนานะครับ ไปตามดูอีกคลิปได้เลยครับ ruclips.net/video/rJMhpv_voVM/видео.html
ใช่ครับเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดินเพิ่อเกษตรกรรม
@@kP0068 ถ้าเป็นเช่านา จะต้องบอกขายผู้เช่านาก่อน ถ้าไม่บอก แจ้งให้คนซื้อใหม่โอนขายให้ผู้เช่านาได้ รายละเอียดเป็นไปตาม พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครับ
แต่ประเด็นอยู่ที่ เป็นสัญญาเช่านา หรือเช่าทำเกษตรกรรม ตรงกับที่กำหนดไว้ในพรบ.หรือไม่ครับ ถ้าไม่ตรง จะไปบังคับตามกฎหมายทั่วไป คือ กม.แพ่งและพาณิชย์ ครับผม
ขอสอบถามผู้เช่าจะขอเช่าที่ดินเพื่อปลูกกัญชา ควรระบุวัตถุประสงค์ในการใช้ทีาดิน ในสัญญาเช่า ว่าอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ผมขอแยกตอบเป็น 2 ประเด็นนะครับ
1.ถ้าจะให้เช่าแบบถูกต้องตามกฎหมาย ต้องคุยกับผู้เช่าให้ชัดเจนนะครับ มีความประสงค์จะปลูกกัญชา เพื่อใช้ในครัวเรือน หรือปลูกใช้เพื่อการค้า
เพราะกรณีเพื่อใช้ในครัวเรือน ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องแจ้งลงทะเบียนกับอย.
ส่วนกรณีใช้เพื่อการค้า ต้องขออนุญาตกับอย.ก่อน ซึ่งมีรายละเอียดมาก(ลองค้นกูเกิลดูนะครับ)
และจะต้องแสดงหลักฐานการทั้ง2 กรณีมาพร้อมการเช่า และระบุชัดเจนในสัญญาเช่าว่า ผู้เช่ารับรองว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หากละเมิดสัญญาหรือกระทำผิดกฎหมาย ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่า และถือว่าสัญญาเช่าเลิกกัน
#ระบุเงื่อนไขให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ให้เช่าหรือเจ้าของที่ดิน ไม่เสี่ยงผิดกฎหมายไปด้วยครับ
2.ถ้าทำเป็นไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็ระบุเป็นการเช่าเพื่อทำการเกษตร และในสัญญาเช่าระบุกว้างๆไปว่า ผู้เช่าจะไม่นำพื้นที่เช่าไปกระทำการ หรือดำเนินการใดๆ ในทางผิดกฎหมาย ประมาณนี้ ครับ
แล้วแต่ความสบายใจ ซึ่งทั้ง2 ตัวเลข จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไปครับ ซึ่งในส่วนที่ต้องเสี่ยงมากตามข้อ 1. ค่าเช่าจะต้องสูงกว่าข้อ 2. ด้วยนะครับ
ปล.คำตอบข้างต้น ล้วนเป็นความเห็นส่วนตัวประกอบกับข้อกฎหมายเบื้องต้น และประสบการณ์ของแอดมินเองนะครับ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดต้องขออภัยล่วงหน้าครับผม
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณมากๆครับ
@@woppram4847 ยินดีครับผม ฝากติดตามช่องยูทูปด้วยนะครับ ^_^
คลิปนี้มีประโยชน์และคำแนะนำดีมากๆค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ เป็นกำลังใจได้ดีมากเลยครับผม 😊
กลับกันถ้าผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่าล่ะจะเป็นยังไง😅
ถ้าผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า แน่นอนกลายเป็นผิดสัญญาเช่า ซึ่งก็จะกลายเป็นถูกบอกเลิกสัญญาเช่า หรือถูกฟ้องขับไล่กรณีไม่ออกจากพื้นที่เช่า ซึ่งมีเคสนึงที่ผมเคยเจอ ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าผิดสัญญาและเรียกค่าเช่าที่ค้าง+ค่าเช่าที่ยังไม่ถึงกำหนดตลอดสัญญามาด้วย และชนะคดีด้วยครับ เรียกว่าเคสนั้นผิดสัญญาเช่าแล้ว ยังต้องยอมรับผิดค่าเช่าจนครบสัญญาไปด้วยครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสัญญาเป็นกรณีๆไปนะครับ
ทำได้ครับ แต่ถ้าใม่จดทะเบียน ผิด กม ท่าน อธิบายไห้ตรงด้วย
ถ้าเช่าเกิน3ปี และไม่ได้จดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน ไม่ได้หมายความว่า สัญญาใช้ไม่ได้ หรือผิดกฎหมายนะครับ สัญญายังมีผลบังคับกันระหว่างคู่สัญญาตลอดสัญญาครับ
เพียงแต่เวลาที่มีปัญหา จะฟ้องบังคับกันได้เพียง3ปี ตามที่กฎหมายกำหนดครับ
ถ้าจะให้มีผลฟ้องบังคับกันเกินกว่า3ปี ต้องจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดิน และสูงสุดจดเช่าได้ 30ปีครับผม
อันนี้ไม่เข้าใจว่าหมายความว่ายังไง?
หมายความว่าเมื่อเกินสามปีแล้วผู่ให่เช่าและผู้เช่าจะขอเลิกสัญญากัยอีกฝ่ายได้ทุกเมื่อใข่มั้ยครับ?
หรือว่าการทำผิดเงื่อนไขสัญญาทำให่อีกฝ่ายไม่สามารถบังคับหรือฟ้องให้ฝ่ายที่ทำผิดสัญญาให้ปฏิบัติให้เป็นไปตาาัญญาได้ครับ??
@@eadjimpakchotanon5970 หากครบ 3 ปี ตามสัญญาฉบับแรกแล้ว เริ่มนับสัญญาฉบับที่ 2 แล้วก็จะมีผลบังคับตามกฎหมายได้ครับ กลับกลายสัญญาชอบด้วยกฎหมายเพราะเริ่มนับระยะเวลาใหม่ แต่ถ้าสัญญาฉบับแรกยังไม่ครบกำหนด แต่เจ้าของที่ดินไม่ให้เช่าต่อ สัญญาฉบับที่ 2 จึงเป็นอันยกเลิกไป ผู้เช่าจะไปฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาฉบับที่ 2 ไม่ได้ครับ
ใบที่2เสียเปรียบเต็มๆทำไมไม่ทำสัญญา6ปีไปเลยล่ะเจ้าของที่หัวหมอแบบนี้ ทำไม
ทำสัญญาเช่า6 ปี ถ้าไม่ได้ไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ก็บังคับได้เพียงแค่3 ปีอยู่ดีครับ จึงเป็นที่มาว่าทั้งสองฝ่ายมักทำสัญญาเช่า 3 ปี 2 ฉบับครับ บางเคสทำเช่า3ปีไว้10ฉบับเลยก็มีครับผม
ให้เช้าที่ดินไว้แล้ว มันหมดสัญญาแล้วปี66 เราแจ้งผู้เช่าแล้ว ว่าเราจะไม่ต่อ แต่ผู้เช่าไม่ยอมออก ต้องทำยังไงดีครับ
ลักษณะที่เช่าเป็นที่ดินเปล่า หรือมีบ้านอยู่อาศัยด้วยครับ
ฟ้องขับไล่ เหมือนรายนี้
สรุป ต้องทำสัญญาเช่ากับคนใหม่ถึงถูกต้อง ใช่ไหมครับ
ใช่ครับผม
ผมทำสัญญาไว้ 2 ปีแต่ผู้เช่าให้ผมเช่า 2 เดือนผมจะทำยังงัยต่อครับ
เราเป็นผู้เช่าใช่ไหมครับ?
ถ้าใช่ ก็ไม่ต้องออกจากพื้นที่เช่าครับ เพราะเราไม่ได้ผิดสัญญา กฎหมายคุ้มครองครับ ถ้าผู้ให้เช่าจะให้เราออกก่อน ต้องชดเชยจนเราพอใจครับ มิเช่นนั้น ก็เช่าอยู่ต่อไปจนครบสัญญาเช่า2ปีครับ
รบกวนสอบถามค่ะ ทำสัญญาเช่าบ้าน2 ฉบับไมได้จดทะเบียนกับที่ดินเพราะไม่รู้กม. ฉบับแรก3ปีและ2ปี และใกล้จะหมดสัญญาฉบับที่สอง ผู้เช่าค้างค่าเช่าจ่ายไม่ครบ ไม่ตรงเวลา. ดิฉันสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้หรือป่าวค่ะ
ถ้าระยะเวลาเข้าสัญญาฉบับที่ 2 แล้ว มีผลบังคับตามกฎหมายครับ ส่วนที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า บอกเลิกสัญญาได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาได้เลยครับ
น่าจะมีคำพิพากษาฎีกา ประกอบด้วย
คำพิพากษาฎีกาเทียบเคียง ดูได้ที่ลิงก์นี้ครับ deka.in.th/view-50677.html
แต่ฎีกาอาจไม่ตรงเรื่องราวเสียทีเดียวนะครับ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องยึดข้อกฎหมายตามปพพ.มาตรา 538 เป็นหลักครับผม
ปล.ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ ☺
จะให้ปรึกษา ทนายใก้สู้ทั้งนั่น เว้นแต่พ่อหรือลูกเป็นทนาย
ต้องคุยกันก่อนครับ ว่าสู้เพื่ออะไร เพราะทนายเราก็มีหลายแบบครับ ถ้าเจอทนายแบบบอกว่าชนะชัวร์ อันนี้ก็ระมัดระวังไว้ก่อนได้เลยครับ เพราะทนายตามจรรยาบรรณวิชาชีพจะไปรับปากแบบนั้นไม่ได้ครับ เราทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลให้ศาล(ผู้พิพากษา)ทราบ และเป็นผู้ตัดสินคดีครับ ดังนั้น แพ้หรือชนะ ทนายเราจะไปตัดสินแทน ผู้พิพากษาไม่ได้ครับผม 🙂
แม่ผมเขาไม่รู้ความครับเขา(ถูกหลอกให้เซ็นชื่อ สัญญาเช่าที่แรกคุยกันว่าแค่3ปี แต่ไม่รู้ มี5แผ่น แผ่นละ3ปี เซ็นล่วงหน้าไว้ เป็น15ปี แบบนี้ทำไงดีครับ อยากได้ที่คืนมันนานไปครับช่วยตอบหน่อยนะครับ🥹
เลิกสัญญาเช่าฉบับอื่นๆได้ครับ เพราะสัญญาเช่าฉบับอื่นๆยังไม่มีผลทางกฎหมายครับ มีแนวทางแก้ไขได้หลายวิธีครับ
มีข้อสงสัยหรือปรึกษาเพิ่มเติมทางไลน์นะครับผม
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณๆมากๆนะครับ
@@parelove2302 ยินดีครับผม
สวัสดีครับ ผมรบกวนสอบถามหน่อยครับ ถ้าผมจะ เช่าที่ดินทำเกษตร ผู้ให้เช่า ให้ทำสัญญา 3 ปี จำเป็นไหมครับ ในสัญญาผมต้องระบุว่า
1 ให้ผมต่อสัญญาในครั้งต่อไป ( ในกรณี ผมลงทุนไปเยอะ กลัวเขาไม่ต่อสัญญาฉบับใหม่ให้ครับ )
2 ในสัญญาต้อง ระบุ ไหมว่า ให้คิดอัตราค่าเช่า อย่างไร เช่นขึ้น ครั้งละ ไม่เกิน หนึ่งพันบาท ต่อ ไร่ ในการต่อสัญญา
หรือ ข้ออื่นที่จำเป็น ต่อการทำสัญญา รบกวน แนะนำ ผมด้วยครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ถ้าคิดว่าจะเช่าเกินกว่า 3 ปีอยู่แล้ว แนะนำให้ระบุระยะเวลาเช่าตามจำนวนปีที่กำหนดไว้และไปจดทะเบียนการเช่าที่สนง.ที่ดินครับ
ถ้าแน่ใจว่าให้เช่า 6 ปรอน่นอนทำไมไม่ไปจดทะเบียนเช่า 6 ปีไปเลยอ่ะคะ
ถูกต้อง ควรเป็นเช่นนั้นครับ
แต่ในทางปฏิบัติ/ทางความเป็นจริง เจ้าของที่ดิน เขาไม่ยอมไปทำให้ครับ ส่วนผู้เช่าอยากเช่าที่ดินมาก เจ้าของว่าไง ก็ต้องตามนั้น ไม่งั้นก็ไม่ได้เช่า อำนาจต่อรองต่างกันครับ หรือราคาค่าเช่าอาจไม่ใช่ราคาตลาด อาจจะแพงกว่านั้นมาก เพราะเจ้าของที่ดินต้องเสียเวลาไปสำนักงานที่ดิน และต้องเสียภาษีทันทีโดยไม่รู้ว่าผู้เช่าจะผิดสัญญาไหม/ต้องผูกพันการเช่าไว้หลังโฉนดที่ดิน/จะยกเลิกการเช่ายุ่งยากกว่าปกติมาก และอีกหลายอย่างครับ
แต่ถ้าเจอเจ้าของที่ดินที่ยินยอมไปทำให้/มอบอำนาจไปให้ทำเองก็ดีไป ถือว่าตกลงพร้อมใจ และสบายใจกันทั้งสองฝ่ายครับ
มีคนจะมาเช่าที่ปลูกบ้านหลังเล็กๆ(มีคนมาปลูกแล้วหลายหลัง)แต่คนเช่าคนนี้เขาอยากจะขุดบ่อบาดาลเพื่อเอาน้ำมาขายให้พวกบ้านหลังอื่นๆ เจ้าของที่จะทำอย่างไรครับ แยกสัญญาหรือเปล่า ขอบคุณครับ
เขียนรวมหรือแยกได้ครับ แต่ต้องเขียนข้อสัญญาให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความเสี่ยงอื่นๆ เช่น การขออนุญาต ความปลอดภัย และกรรมสิทธิของบ่อบาดาลเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแบบปกติและแบบผิดสัญญาครับ
@@storytellingbypichailawyerขอบพระคุณครับท่าน อ้อ เขาขายน้ำเราจะต้องได้รายได้จากตรงนี้มั้ยหมายถึงส่วนแบ่งจากการขาย หรืออย่างไรครับ...ถ้าจะอธิบายให้ละเอียดก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง.
@@komkritpanichjaroen2640 รายได้จากการขายน้ำ ตกลงกันได้ ระบุให้ชัดเจนในสัญญาเลยครับ จะได้ไม่มีปัญหากันภายหลังครับ ถ้าระบุแล้วอาจจะมีปัญหา อาจจะต้องทบทวนกันใหม่ ว่าไม่ให้เจาะบ่อบาดาลครับ
@@storytellingbypichailawyer กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับผม
@@komkritpanichjaroen2640 ยินดีครับผม
🙏🎉🎉🎉
🙏 ขอบคุณครับผม
อยากถามเรื่องสัญญาเช่าค่ะ
ทำสัญญา5ปีไม่ได้เหรอค่ะ
ทำได้ครับ เพียงแต่ว่าเวลาที่มีปัญหาทะเลาะกัน จะฟ้องบังคับกันได้แค่ 3 ปีครับ
คุณขึ้นต้นมาว่า เช่าที่ดิน เพื่อทำสวน ดังนั้นต้องบังคับตาม พรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ใช่ ปพพ.
ขออนุญาตตอบท่าน ดังนี้ครับ
1.เรื่องที่นำมาเล่าเป็นคดีความจริงที่ฟ้องร้องกันที่ศาลนะครับ ทางโจทก์ฟ้องมาตาม ปพพ.ครับ และจำเลยก็ไม่ได้หยิบยก พรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นข้อต่อสู้ และคดีจบไปเช่นนั้น จึงไม่มีการวินิจฉัยไปถึงว่าบังคับตามกฎหมายฉบับใด และผมไม่ได้เป็นทนายความในคดีดังกล่าวครับ
2. แต่หากดูข้อกฎหมายโดยละเอียดตามพรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ mis.dopa.go.th/dopalaw/law_file/164_03032017585535469.38798.pdf
ในมาตรา 5 นิยามคำว่า เกษตรกรรม ไว้กว้างมาก ซึ่งรวมถึง ทำสวน ด้วย แต่ในเนื้อหาข้อกฎหมายในพรบ.ข้างต้น หน้าที่ 9 หมวดที่ 2 จะกำหนดคุ้มครองเพียงการเช่านา ครับ ผมจึงมีความเห็นว่า พรบ.ฉบับนี้ ยังไม่ได้คุ้มครองไป การเช่าทำเกษตรกรรมอื่น หรือ เช่าทำสวน จึงต้องบังคับโดยกฎหมายทั่วไป ปพพ. เหมือนเดิมครับ
3.ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันนะครับ หากผมมีความเห็นผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยล่วงหน้าครับ
ดูเหมือนโหดร้ายจังนะคะสงสารผู้เช่า แต่ก็เป็นบทเรียนให้ผู้เช่าควรตรึกตรองให้ดีก่อน
ไม่นานมานี้ก็มีอีกเคสลักษณะนี้ครับ แต่ผู้เช่าก็ยังไม่เชื่อคำเตือนครับ ผมก็ได้แต่หวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆกับคลิปนี้ครับ😊
ปล.ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะครับ
ขอเบอร์โทรทายพิชัยหน่อยค่ะ
เบอร์โทรผม 0875664607 ครับ
ทนายไหยจะบอกว่าจะไม่ให้สู้ มันอยากได้เงินค่าวัดดวงอีก ว้า ทนาย
สู้หนะสู้ได้ครับ แต่ต้องจับหลักหรือคุยประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่า สู้เพื่ออะไรครับ โอกาสมีแค่ไหน เช่น สู้เพื่อให้ได้ระยะเวลาเช่าต่อเนื่อง เพื่อเก็บผลประโยชน์ในที่ดิน ถ้าคุ้มก็สู้ไปได้ครับ แต่ถ้าสู้เพื่อเอาชนะคดี อันนี้ก็ต้องดูประเด็นข้อกฎหมายให้ชัดเจนครับ ถ้าไม่เคลียร์ก็ต้องแจ้งให้ลูกความทราบและตัดสินใจเองครับว่าจะสู้ต่อหรือเจรจาต่อรองครับผม
ปล.ขอบคุณที่ติดตามรับฟังนะนะครับ 🙂
ฉบับที่ 2 ผู้ให้เช่าไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว
นั่นคือปัญหาเลยครับ จะเอาสิทธิสัญญาเช่าที่ไม่มีผลบังคับบุคคลภายนอกไปอ้างกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ใหม่ยากครับ
ไม่ชอบมาพากล.... เลห์เหลี่ยม.. กรมที่ดินดีสุดจ่ายค่าสัญญาให้หลวงเปนภาษีตามกรมที่ดินกำหนด
ตอนเริ่มสัญญาอาจไม่มีเจตนาร้ายใดๆ แต่ในอนาคตอะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ และในทางปฏิบัติจริง มักทำกันแบบนี้เยอะครับ จึงนำมาเล่าเตือนกันไว้ก่อนครับผม 😊
อ่าวทำสัญญาให้ผู้เช่าไป15 ปีแล้ว ไม่ได้เหรอ?😂 ดูมันสั้นๆเอง3ปีเขาลงทุนไปเปนล้าน ฉันเป็นเจ้าของบ้านใจดีเหรอ
ถ้าไม่ทะเลาะกันในอนาคต ไม่มีปัญหาครับ แต่หากให้สบายใจแนะนำให้ไปจดทะเบียนการเช่าที่สนง.ที่ดินครับ
@@storytellingbypichailawyer ถ้าจดทะเบียทำได้ยาวกี่ปีครับ ตอบเร็วมาก ตกใจๆ😂
ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมายได้ 30 ปีครับ
แล้วมีเหตุผลอย่างไร ที่บางคน ไม่ไปจดทะเบียนที่ สนง ที่ดินครับ ขอความรู้ครับ กำลังจะเช่า ทำสวน ระยะยาว@@storytellingbypichailawyer
ส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายเจ้าของที่ดินมากกว่าครับ ที่มักจะไม่ไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดิน เพราะ 1.ยุ่งยากเสียเวลา 2.ต้องเสียภาษีทันทีคำนวณจากค่าเช่าตลอดสัญญา 3.มีภาระผูกพันเพราะต้องลงบันทึกการเช่าไว้หลังโฉนดที่ดิน ยากต่อการขาย ทีนึกออกประมาณนี้ครับ
สรุปแบบชาวบ้านเข้าใจง่าย..
ก็คือฉบับที่ 2 บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาเช่าเท่านั้น แต่ผู้ซื้อที่ดินรายใหม่ไม่ได้มีรายชื่ออยู่ในสัญญาเช่าแม้จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินผืนนั้นก็ตาม สัญญาเช่าฉบับที่ 2จึงไม่เกิดใช่ไหมครับวานบอก..
ผมเป็นคนเข้าใจอะไรยากแต่เชื่อคนง่ายครับ😊😊
เข้าใจได้ถูกต้องแล้วครับผม👍
ทั้งนี้ อาจรวมถึงกรณีที่ ถ้าผู้ให้เช่าเสียชีวิต สัญญาไม่มีผลผูกพันไปถึงทายาทที่ได้รับมรดกที่ดินนี้
และถ้าที่ดินถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดไปเป็นเจ้าของใหม่แล้ว ก็เช่นกันครับผม 😊
ที่นี้อาจจะมีประเด็นเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าทำสัญญาเช่า 3 ปี 10 ฉบับ ผลของสัญญาเช่าฉบับที่ 2 จะใช้ได้เมื่อหมดสัญญาฉบับแรก และสัญญาเช่าฉบับที่ 3-10 นั้น ยังไม่มีผลทางกฎหมายที่จะผูกพันคู่สัญญา ถ้ายังไม่หมดสัญญาฉบับก่อนหน้าครับ
@@storytellingbypichailawyer ขอบคุณครับ🙏🙏🙏🙏🙏
@@ancleyutt ยินดีมากเลยครับ ขอบคุณที่คอนเมนต์สอบถามเพิ่มเติม และติดตามรับชมนะครับ 😊
ไอ้เจ้าของเดิมมีเจตนาจะโกงตั้งแต่แรก ผู้เช่าคงรู้นะจะจัดการใคร เจ้าของใหม่ก็จัดการด้วยคิดค่าปรับโหดเดินไป
ครับผม ^_^
เจ้าของที่ไม่ควรขาย ควรโดน ...อะไรสักอย่าง
ใจเย็นๆครับผม ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี สำหรับผู้ที่กำลังจะทำสัญญาเช่าครับ
แล้วทำไมไม่บอกว่าการทำที่ถูกต้องมันต้องทำยังไง
ขอเรียกว่าคำแนะนำนะครับ ว่าถ้าจะเช่ากันมากกว่า 3 ปี ให้ไปจดทะเบียนเช่าที่สำนักงานที่ดินครับผม เพราะที่ทำไปก็ไม่ได้ผิด แค่กฎหมายไม่คุ้มครองครับ ยังบังคับใช้กันต่อไปได้ จนกว่าจะมีปัญหาดังเช่นเรื่องราวที่นำมาเล่าครับ การป้องกันปัญหาที่ดี คือ ถ้าไม่ไปจดทะเบียนเช่าที่สนง.ที่ดิน ก็ไม่ควรเช่าแต่แรกครับผม
การป้องกันไว้ก่อนย่อมได้เปรียบก่อนเกิดผลกระทบทีหลัง
ถูกต้องเลยครับ 😊
เรียนถามครับที่มรดกแบ่งกันแล้วแต่ไม่ได้อยู่ดูแลให้พี่น้องทำกินจะต้องทำสัญญาหรือกรณีใดบ้างครับวันข้างหน้าจะได้ไม่มีปัญหาตามาขอบคุณครับ
แบ่งกันแล้ว หมายถึง รังวัดแบ่งแยกโฉนดเป็นของตนเองกันแล้วใช่ไหมครับ ถ้าใช่ และให้พี่น้องหรือญาติทำกินใช้ประโยชน์หรือดูแลแทน ควรทำเป็นสัญญาเช่าไว้นะครับ ป้องกันปัญหาในอนาคตได้หลายอย่างมากครับ
ทำสัญญาเช่าจะต้องไปที่กรมที่ดินใช่มั้ยครับขอบคุณครับ
@@malikhembut4146 ถ้าเช่า 3 ปี ไม่ต้องไปทำที่สนง.ที่ดินครับ
แต่รังวัดแบ่งแยกกันชัดเจนแล้วนะครับ ไม่อยากให้มีปัญหากันภายหลังครับ
ขอบคุณครับ
มีตัวอย่างสัญญาที่ถูกต้องมายกให้ดูจะดีมาก
เดี๋ยวนำตัวอย่างสัญญาเช่าประเภทเดียวกับเรื่องเล่ามาให้ดูนะครับ เพื่อเป็นแนวทางครับ