[4K] ถนนเพชรบุรี - พัฒนาการ [รัชดา-สวนหลวง ร.9] [Driving in Bangkok Downtown to outskirt]

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 29 ноя 2024
  • เส้นทางการเดินทาง : maps.app.goo.g...
    ถนนเพชรบุรีมีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ เริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกตัดกับถนนสวรรคโลกและถนนหลานหลวงที่ทางแยกยมราชในพื้นที่เขตดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านทางรถไฟสายเหนือเข้าพื้นที่เขตราชเทวี ตัดกับถนนพระรามที่ 6 และผ่านใต้ทางพิเศษศรีรัชที่ทางแยกอุรุพงษ์ ตัดกับถนนบรรทัดทองที่ทางแยกเพชรพระราม ตัดกับถนนพญาไทที่ทางแยกราชเทวี ตัดกับถนนราชปรารภและถนนราชดำริที่ทางแยกประตูน้ำ ซึ่งเดิมถนนเพชรบุรีจะสิ้นสุดแค่ช่วงนี้ ก่อนจะมีการเวนคืนและก่อสร้างถนนตัดใหม่ต่อไปในภายหลัง โดยมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตัดกับซอยชิดลมที่ทางแยกชิดลม-เพชรบุรี ตัดกับกับถนนวิทยุที่ทางแยกวิทยุ-เพชรบุรี ผ่านใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนนิคมมักกะสันและซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ที่ทางแยกมิตรสัมพันธ์ ตัดกับถนนอโศก-ดินแดงและถนนอโศกมนตรีที่ทางแยกอโศก-เพชรบุรีและเข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ข้ามคลองบางกะปิ ตัดกับซอยเพชรบุรี 38/1 ที่ทางแยกพร้อมพงษ์ ตัดกับซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ที่ทางแยกเอกมัยเหนือ ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่เขตสวนหลวง ก่อนไปสิ้นสุดที่สี่แยกคลองตัน ตัดกับถนนรามคำแหง และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนพัฒนาการ
    ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลายถนนคอเสื้อ (ปัจจุบันคือถนนพิษณุโลก) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2448[1] โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดลองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนประแจจีน ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประแจจีนเป็น ถนนเพชรบุรี[1] ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[2]
    ปี พ.ศ. 2505 ทางการได้เวนคืนตลาดเฉลิมลาภเก่าบริเวณสามแยกประตูน้ำ (ปัจจุบันคือสี่แยกประตูน้ำ) โดยตัดถนนต่อออกจากสามแยกประตูน้ำไปจรดซอยสุขุมวิท 71 โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2506 คนทั่วไปนิยมเรียกถนนเพชรบุรีช่วงนี้ว่า "ถนนเพชรบุรีตัดใหม่"
    th.wikipedia.o...

Комментарии • 1

  • @เสี่ย444
    @เสี่ย444 26 дней назад

    สุดยอดครับจอดให้คนข้ามทาง