เพลงป๊ะเถอะ (Pa-Thur) - Phrakhanes’s disciple Thai classical Band.
HTML-код
- Опубликовано: 6 фев 2025
- “ เพลงป๊ะเถอะ ”
.
เพลงป๊ะเถอะ เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น ๓ ท่อน และ อัตราจังหวะชั้นเดียว ๖ ท่อน
.
คุณครูพิณ เพียรพงษ์ ได้ประพันธ์ไว้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๐
โดยเริ่มบรรเลงครั้งแรกในวงปี่พาทย์มอญวัดมะกอก อนุสาวรีย์ชัยฯ กรุงเทพมหานคร
ภายใต้การควบคุมวงของคุณครูผาด การคุณี
.
ลักษณะการบรรเลงหน้าทับในอัตราจังหวะชั้นเดียวของเปิงมางคอก และ ตะโพนมอญ
มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากหน้าทับเพลงมอญทั่วไป
ซึ่งในช่วงท้ายแต่ละท่อนนั้น จะให้เปิงมางคอก และ ตะโพนมอญ สอดแทรกหน้าทับไปตลอดทั้งเพลง
คุณครูพิณ เพียรพงษ์ บรรจุหน้าทับโทนโขนสดเข้าไปในเพลง เพื่อให้บรรเลงในช่วงท้ายของแต่ละท่อน
(คุณครูพิณได้ท่องว่า “ป๊ะ เถอะเถอะเถอะเถอะเถอะ”)
แต่ปรับเปลี่ยนการบรรเลงโดยใช้เปิงมางคอก และ ตะโพนมอญ
ด้วยเหตุนี้คุณครูพิณ เพียรพงษ์ จึงได้ตั้งชื่อเพลงนี้ว่า “ป๊ะเถอะ”
.
.
ผู้ถ่ายทอด :
นายธีรธรรม เพียรพงษ์ ได้รับการถ่ายทอดจากคุณครูวิบูลย์ธรรม เพียรพงษ์
.
.
รายนามผู้บรรเลง :
๑. นายจีระศักดิ์ เจริญรัมย์ [ปี่มอญ]
๒. นายอนุภัทร ระโหฐาน [ระนาดเอก]
๓. นายกษิดิ์เดช ดำพลงาม[ระนาดทุ้ม]
๔. นายเทวฤทธิ์ มายูร [ฆ้องมอญวงใหญ่ ๑]
๕. นางสาววิจิตรา ปัญจากุล [ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒]
๖. นายวิศิษฐ์ ปัญจากุล [ฆ้องมอญวงเล็ก]
๗. นายณัฐนนท์ คลังสิน [เปิงมางคอก]
๘. นายธีรธรรม เพียรพงษ์ [ตะโพนมอญ]
๙. นายณัฐกานต์ สิทธาภา [ฉิ่ง]
๑๐. นายธนัญกฤดิ เหนือเกตุ [โหม่ง]
๑๑. นายธีรโชติ พวกดี [กรับ]
๑๒. นายสุธิวัฒน์ มิศิริ [ฉาบใหญ่]
๑๓. นายรนกรณ์ แป้นสีทอง [ฉาบเล็ก]
.
.
ผู้ควบคุมการบรรเลง :
๑. อาจารย์อัษฎางค์ เดชรอด ประธานสาขาวิชาดนตรีศึกษา
๒. ผศ.พิณทิพย์ ขาวปลื้ม อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา
๓. ผศ.ดร ณวัฒน์ หลาวทอง อาจารประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา
๔. อาจารย์โกเมศ จงเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา
๕. อาจารย์ประวิทย์ ขาวปลื้ม อาจารย์พิเศษ ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา
๖. ผศ.ดร สายสุนีย์ หะหวัง อาจารย์พิเศษ ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา
๗. คุณครูวิบูลย์ธรรม เพียรพงษ์ อาจารย์พิเศษ ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา
#ดนตรีไทย #ลูกพระคเณศ
#สาขาวิชาดนตรีศึกษา
#มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
#PKND #ThaiclassicalBand
🤍🙏🏻🪘🎶
กลับมาฟังเพลงไทย ปี่พาทย์ อีกครั้ง ยังไพเราะจับใจ บันทึกเสียงดีมากครับ ดนตรีทุกชิ้น เสียงออกมาชัดเจน ไม่มีชิ้นไหนดังเกินไป..ต้องฟังหลายๆรอบเพื่อเน้นฟังเสียงดนตรีชิ้นนั้นๆ..จะได้เข้าใจทำนองของเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆได้มากขึ้น..ขอบคุณมากครับ
ขอบพระคุณมากครับ ฝากติดตามผลงานของพวกเราด้วยนะครับ พวกเราจะได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานไปเรื่อย ๆ ครับผม 🤍❤️🙏🏻