ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา(หญิงล้วน) ศิลปะการฟ้อนราชสำนักเชียงใหม่ ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 7 фев 2025
  • ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นกระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นจากพระดำริของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นการฟ้อนที่แปลกไปจากการฟ้อนที่เคยมีอยู่ ดังนั้นจึงรับสั่งให้หาตัวระบำของพม่ามารำถวาย โดยทรงคิดว่า ถ้าท่ารำของพม่าสวยงามเหมาะสมก็จะดัดแปลงและนำมาผสมกับท่ารำของไทย เป็นรำพม่าแปลงสักชุดหนึ่ง จึงได้นักแสดงชายชาวพม่าและนักแสดงหญิงชาวมอญ ชื่อเม้ยเจ่งตา มารำถวายทอดพระเนตร จึงทรงรับไว้เป็นครูฝึกอยู่ระยะหนึ่ง การถ่านทอดแต่ละครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจะเสด็จมาควบคุมอย่างใกลชิดและทรงเห็นว่าท่ารำของผู้ชายไม่ค่อยน่าดูมากนัก จึงรับสั่งให้ครูฝึกผู้หญิงแสดงท่ารำของระบำพม่าที่เคยแสดงในที่รโหฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ซึ่งทรงพอพระทัยมากจึงทรงดัดแปลงท่าฟ้อนร่วมกับครูฟ้อนชาวพม่า ชื่อสล่าโมโหย่ หรือโกโมโหย่ (เจ้าอินทนนท์ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐเรียก ปู่ชะโหย่) กลายเป็นระบำหรือฟ้อนชุดใหม่ ทรงให้ผู้ฟ้อนทั้งหมดแต่งกายเป็นกำเบ้อ หรือ ผีเสื้อ สวมใส่เสื้อผ้าถุง ติดปีกแบบนก ติดหนวดที่ศรีษะแบบผีเสื้อเป็นสีน้ำเงินให้เป็นการฟ้อนเลียนแบบพม่า เรียกว่า “เหว่ยเสี่ยนต่า” หรือ “เหว่ยเสี่ยนต่านานโบ่ง” แบบของการฟ้อนนี้มาจากราชสำนักพม่า โดยใช้เพลง “เหว่ยเสี่ยนต่า” ประกอบการฟ้อน เรียกกันแต่แรกว่า “ฟ้อนกำเบ้อ” (ผีเสื้อ) แสดงครั้งแรกในงานฉลองพระตำหนักของพระองค์ ที่สร้างขึ้นใหม่บนดอยสุเทพและจะใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่บรรเลงประกอบการฟ้อน
    เมื่อคราพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จเลียบมณฑลพายัพและได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหารค่ำ พระราชชายาฯจึงได้จัดฟ้อนชุดนี้แสดงให้ทอดพระเนตร แต่ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบจากชุดผีเสื้อ มาเป็นระบำในที่รโหฐาน ตามคำบอกเล่าเดิมจึงได้กลายเป็น “ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา” เมื่อปี พ.ศ.2469
    ผู้แสดงทั้งหมดเป็นสตรีล้วน แต่งกายแบบพม่าคือนุ่งผ้าถุงแบบพม่ายาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาวชายเสื้อสั้นแค่เอวเล็กน้อยมีผ้าแพรสีต่าง ๆ คล้องคอ ชายผ้ายาวถึงระดับเข่า เกล้าผมมวยกลางศรีษะปล่อยชายลงมาข้างแก้ม มีดอกไม้สดประดับมวยผมและมีอุบะห้อยลงมากับชายผม
    เพลงที่ใช้บรรเลงมีสำเนียงแบบพม่า จึงเรียกกันว่า “เพลงม่าน” แต่ชาวพม่าเรียกเพลงนี้ว่า “เพลงโยเดีย” (ไทยอยุธยา) และไม่สามารถสืบหาความเป็นมาของเพลงได้
    คำร้องของเพลงประกอบการฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา จะเป็นสำเนียงพม่าแต่ชาวพม่าบอกว่าไม่ใช่ภาษาพม่า มอญก็บอกว่าไม่ใช่ภาษามอญ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นภาษาพม่า แต่จากการรับช่วงสืบต่อกันมาหลายทอด จึงทำให้อักขระวิบัติกลายรูปจนเจ้าของภาษาดั่งเดิมฟังไม่เข้าใจก็อาจเป็นได้
    ความสวยงามของท่ารำและเพลงร้องของฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตานี้ นับได้ว่าเป็นกระบวนการผสมผสานและประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบบการฟ้อนในราชสำนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่สมควรจะได้รับการถ่ายทอดและอนุรักษ์รูปแบบให้คงความถูกต้องไว้สืบทอดต่อไป

Комментарии • 6

  • @ฤทัยรัตน์เสมอใจ-ย6ผ

    อยากหันระบำซอเจ้า จำได้ว่าอัดปีเดียวกันกับการแสดงชุดนี้เจ้า

  • @boonsongboonsong9961
    @boonsongboonsong9961 5 лет назад +9

    ฟ้อนชุดนี้เท่าที่ผมจำได้สมัยผมเรียนดนตรีภาควิชาดนตรี วิทยาลัยครเชียงใหม่ ประมาณปีพ.ศ 2527 เพลง ภาควิชาดนตรีส่งอาจารย์กับนักศึกษาในสมัยนั้น ไปต่อเพลงจากเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ส่วนท่ารำ คณาจารย์ที่สอนภาควิชานาฏศิลป์ ซึ่งเดิมท่านเคยเป็นช่างฟ้อนในคุ้มเจ้าดารารัศมี ผมจำชื่อท่านไม่ได้แล้วเป็นผู้สอนท่ารำ ต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย อาจจากการศึกษาและทำวิทยานิพนธ์ บวกกับมีการค้นคว้าจากคณาจารย์หลายสำนักแต่ละแห่งก็ยืนยันว่าเป็นรำของสำนักคุ้มเจ้าดาราจริง

  • @pakpaofish
    @pakpaofish 7 лет назад +4

    ชอบครับ และขอขอบคุณที่นำมาให้ได้ชมกันครับ :)

  • @อภิสมย์อิสรั่น

    ปูเดเส โอมาเม่ เห่ เฮ้ เห่ เฮเฮ้ เฮ้ เฮ ฮา มิสะต้า มาทา บ่าเล
    ๒. ล้าปูยู เบตาเมีย สู่เค สู่เค ล้า ... หา
    ๓. โอ่ล่าเย็นเย้ ... ขิ่งขิ่งเล เล้ เล เล บ่าโล ซุยมองตูหู กาตุกาแต ... บ่าโล เวลายู ... หู
    โอเมล่า ฮา ฮา ฮ้า ตองบู
    ๔. โอ เล เล้ เล เล เล เล เล ปิงไซยะ เซียหมันตาเหมาเย เซียหมันตาเมาเย แคตะมิว
    เคมาสู่ เคมซู้ ฮู่ ฮู ฮู้ เคมาซู้ ฮู่ ฮู้ ฮู่ เคมาซุกวาแต
    ๕. ดีเมาเซเตเต้าม่ากวา ดีเมาเซ เตเต้าม่ากวา๓
    ๖. แหมวพีลา กันทาซงยี่หล่า โอลีเล แขแว แยซี แยมา ส่ากันทาบาเล
    ๗. ปู่เดเส เซนิเก เห่ ... (ซ้ำ) เพมาเพ่ ... เห่ ... ดีแค้วแมวไฟ
    ๘. หยีทาแมวเย้ เตาฟี้ลาซี กาแต้ เที้ยโว (ซ้ำ)
    ๙. คานุชา นุเหว่ ... แก่เวลา (ซ้ำ) งี่หงี่แง หย่าซา ... งี่หงี่แง หย่าซา ... งี่หงี่แง หย่าซา ...

  • @ดร.อานนท์กาญจนโพธิ์

    เนื้อร้องทางนี้
    ปู่เดเส โอมะเพ่ พิสตามาตา บาเล่ (ซ้ำ)
    ล้ายูเมตาเมี้ย สู่เค สุเค สู่เค ล้า
    โอลาเย็นเย้ ขิ่น ขิ่น เลบาโล๊ะ ซวยพองตูหู
    กระโตกกระแตบาโล๊ะ เวลายูหู โอเมหล่า ตองมู
    โอ่เลเล้เลเลปิงไซยา เซียหมัดตาเหมาเย๊ เซียหมัดตะเมาเหย่ เคตามิ้ว เคม้าสู่ เคหม่าซู เคหม่าซู่ เคมาซูกวาเเต
    ดีเม๊าเซ เตต๊ะหม่ากวา ดีเม๊าเซ เตต๊ะหม่ากวา
    แก่วพีลา กันทาซงยีหร่า โอ่ยีเลเลแว เเยซีเเยหม่า
    สั่นทา มาเด ปู่เดเซ เซนิเก๊ ปู่เดเซ เซนิเก๊ เขมะเผ่ เห่เฮเอ๊ะเฮเห่ หนิแกวแมวโฟ
    หมิตา แมวเย๊ กาพี๊ลาซี ก๊ะแตเตี้ยวโว กานุชานุเหว่ แก่เวลา กานุชานุเหว่ แก่เวลา งีอี่เเง อย่าสา งีอี่เเง อย่าสา
    งีอี่เเง อย่าสา