Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
กราบ…สาธุ..สาธุ….ที่…30…พฤษภาคม…2566..นา❤
มหาสติปัฏฐานสูตร๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒) [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ วามบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ จบอุทเทสวารกถา [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้นเมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอานาปานบรรพ [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอิริยาปถบรรพ [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบสัมปชัญญบรรพ [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อมันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบปฏิกูลมนสิการบรรพ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบธาตุมนสิการบรรพ [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง นี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่งกระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ จบนวสีวถิกาบรรพ จบกายานุปัสสนา -------------------------- [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้างพิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่ แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ จบเวทนานุปัสสนา ---------------------- [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคตจิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่าจิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ จบจิตตานุปัสสนา ------------------------[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่งเมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่ เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่งเมื่อ อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายใน จิตของเราหรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่งเมื่อ วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ จบนีวรณบรรพ -------------------- [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขารอย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ จบขันธบรรพ[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยสังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ อยู่ ฯ จบอายตบรรพ -------------------- [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเราอนึ่ง สติ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ จบโพชฌงคบรรพ จบภาณวารที่หนึ่ง [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผากณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็ เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน โลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณเป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนาธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนาธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียดงดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ฯสัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา สมาธิ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ จบสัจจบรรพ จบธัมมานุปัสสนา ------------------------ [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙ ----------------------------
สวัสดีคะ พี่ หนูขอรบกวน ขอดูดบุญให้ประเทศต่างๆ วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มบุญให้กับทุกประเทศ ให้หนีโควิด ขอโทษพี่ๆไว้ก่อนเลยถ้าทำให้ ลำบาก สมุทรสาคร อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุไทย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุอินเดีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุโลก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุสหรัฐอเมริกา อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุสเปน อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ อิตาลี อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ เยอรมนี อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สหราชอาณาจักร อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ ฝรั่งเศส อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ ตุรกี อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ อิหร่าน อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ จีน อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ รัสเซีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บราซิล อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เบลเยียม อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุแคนนาดา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เนเธอร์แลนด์ อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ สวิตเซอร์แลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อินเดีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โปรตุเกส อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เอกวาดอร์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เปรู อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุไอร์แลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สวีเดน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ซาอุดีอาระเบีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ออสเตรีย อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ อิสราเอล อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ เม็กซิโกอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ญี่ปุ่นอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ชิลีอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สิงคโปร์อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ปากีสถานอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โปแลนด์อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เกาหลี อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โรมาเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เบลารุส อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ กาตาร์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อินโดนีเซีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เดนมาร์ก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุยูเครน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เซอร์เบียร์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ นอร์เวย์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ประเทศเช็กเกีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ฟิลิปปินส์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ออสเตรเลีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สาธารณรัฐโดมินิกัน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ มาเลเซีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ปานามา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โคลอมเบีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บังกลาเทศ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ฟินแลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ แอฟริกาใต้ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อียิปต์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โมร็อคโก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อลักเซมเบิร์ก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อาร์เจนตินา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ แอลจีเรีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ มอลโดวา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ประเทศไทย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ คูเวต อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บาห์เรน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ กรีซ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ คาซัคสถาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ฮังการี อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โครเอเชีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โอมาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ไอซ์แลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อิรัก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เอสโตเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อาร์เมเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อาเซอร์ไบจาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ แคเมอรูน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ลิทัวเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สโลวีเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สโลวะเกียอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อัฟกานิสถาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ มาซิโดเนียเหนือ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ คิวบา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ กานา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บัลแกเรียอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุจีน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธแม่ประทุม สาธุอนุโมทนาสาธุแม่ประทุมอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุแม่ประทุมอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุปังปอนด์อนุโมทนาสาธุเปาอนุโมทนาสาธุแดง วัดเขาถ้ำ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุแม่องค์ขายส้มตำ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏 🙏🙏🙏I อนุโมทนาสาธุ😀😃😄😁😆😅🤣😂🙂🙃😉😊😇🥰😍🤩😘😗☺😚😙😋😛😜🤪😝🤗🤭🤫🤔🤨😑😶😏😒🙄😬🤥😌😔😪🤤😴😷🤠🥳🧐😕😟🙁☹😮😯😲
กราบ พระพุทธองค์ กราบพระธรรมคำสอน กราบพระสงฆ์สาวก ฟังธรรมไปปฏิบัติตามไป จิตแจ่มใสใจเบิกบาน ธรรมรักษาครับ ออนุโมทนา. สาธุ สาธุ สาธุ
สาธุครับ
กราบพระพุทธองค์ กราบพระธรรมคำสอน กราบพระสงฆ์สาวก สวัสดีครับท่านผู้เจริญ จิตแจ่มใส ใจเบิกบาน ธรรมรักษา พระคุ้มครอง ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
กราบ. กราบ. กราบ
การฝึกฝนเริ่มผลิผลแล้ว...ไม่ฝืนไม่บังคับ เป็นไปตามธรรมชาติ
กราบสาธุสาธุเจ้าค่ะกราบสาธุสาธุค่ะ❤❤ ❤❤
มีเรามีเขา มีของของเรามีของของเขา ทุกข์ย่อมเกิดอยู่เนืองๆ เมื่อหมดเราหมดเขา หมดของของเราหมดของของเขา ทุกข์ย่อมไม่เกิด ผลนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมี มหาสติปัฐานนี้เป็นเหตุ สาธุ สาธุ สาธุ
กราบคุณพระรัตนตรัย คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครูบาอาจารย์ ขอบุญรักษาทุกๆท่านผู้มีศีลด้วยเทอญ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
ขออนุโทนา สาธุค่ะ ขอขอบคุณผู้จัดทำกัลยามิตรที่ดี นำธรรมะมาเผยแพร่ ได้ฝึกฝนจิต เกิดสมาธิ ปัญญาค่ะ ขอเชิญชวน ผู้แสวงหาความสงบ ความสุขที่แท้จริง ร่วมรับฟังค่ะ
ความตั้งมั่นอยู่กับลม รู้กายอยู่ รู้นามอยู่ ตัวรู้เกิดปัญญา สาธุ...สาธุ...สาธุ...
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ
อนุโมทนาสาธุ *** วิชาเอกแห่งโลก ***
กราบสาธุธรรมค่ะ
อนุโมทนาสาธุครับ
สาธุ ภาพประกอบดีมาก ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านที่น้อมธรรมของพระพุทธองค์ไว้ในใจ สาธุ
ขอจงเจริญในธรรม สาธุ
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า- ๑. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ๒. พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่. ๓. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ ห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.
ขอบคุนครับที่นำสิ่งดีๆมาให้ฟัง
สาธุ เมื่อไหร่หนอ มนุษย์สัตว์ใหญ่่บนโลกใบนี้ จะเดินตามทางหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียที ธรรมชาติของโลกใบนี้จะได้เป็นธรรมชาติที่เป็นธรรมชาติที่สุด เมื่อมนุษย์ปล่อยวางเสียทุกอย่าง ผ่านไปไม่กี่ทศวรรษ คงหมดสิ้นสัตว์ใหญ่อย่างเช่นมนุษย์เราหนอ ธรรมชาติย่อมละเว้นจากการเบียดเบียน สัตว์เล็กคงมีวิถีชีวิตไปตามวัฎจักรของเขา และเราที่ได้ชื่อว่าสัตว์ชั้นประเสริฐ คงหมดสิ้นกรรมเสียที อยากให้ทุกคนคิดดี พูดดี ทำดี ให้คิดถึงคน อื่นมากกว่าตัวเอง ชาติ ศ่าสนา พระมหากษัตริย์ แบะพระที่ยิ่งใหญ่คือผู้ให้กำเนิดนั่นเอง ^_^
ผมฟังบ่อยมากๆครับ ขอบคุณนะครับ^-^
พุทธศาสนา ค่าล้ำเลิศ ประเสริฐยิ่งเป็นสัจจริง ทุกอย่าง อย่าวางเฉยเมื่อพบแล้ว รัตนะ อย่าละเลยมัวเฉยเมย หมดโอกาส พลาดของดี
สาธุ สาธุ เจริญพรความจริงที่หาได้โดยตนเองไม่ต้องพึงใครแต่ต้องฝีกฝนตนเองเสมอ ๆ สาธุ เจริญพร
เวลาธรรมะไม่ควรมีโฆษณาเลยทุกๆวีดีโอนะคะ แต่ก็ต้องขอบพระคุณผู้เผยแผ่เพราะเป็นธรรมะที่ดีมาก สาธุค่ะ
ปิติ ที่ได้เป็นอนาคามี แล้วแล้ว
สาธุอนุโมทนามิพระเจ้าค่ะ
ฟังเพลินทำตาม แต่ต้องมาตกใจกับเสียงระฆังคั่นบทที่ดังมากเกินไปทุกที ..ตกใจหมดเลย.. ขอเวอร์ชั่นไม่มีเสียงดนตรีได้ไหมคะ
สาธุ ดีที่สุดครับ
สาธุเจ้าค่ะ ขอความสำเร็จจงเกิดแด่สาธุชนทั้งหลายด้วยเถิด
สาธุสาธุสาธุ......อนุโมทนามิ
ทางนี้เป็นทางสายเดียว....ให้รู้แจ้ง
ชอบและดีมาก
ขอบคุณผู้นำมาโพสค่ะ สาธุ
อนุโมทนา สาธุ เจ้าครับ
ขออนุโมธนา ครับ สาธุ..
สาธุค่ะ อนุโมทนา
อยากได้หมวดสิ่งปฏิกูลเดิมที่มีรูปภาพป่าช้าทั้งเก้าครับเสียงคนพากษ์เดิมๆทำให้จิตนิ่งสงบระงับเร็วครับผมเคยโหลดไว้เมื่อสามปีก่อนและศึกษาเองเกิดจิตตั้งมั่นง่ายบวกกับงดอาหารประเภทเนื้อครับหลังจากนั้นหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่งดอาหารดังกล่าวเหมือนสติไม่ต่อเนื่องรู้ไม่ทันอารมณ์ครับ หากมีข้อชี้แนะเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ
พิจารณาตามนี้ละครับ ผมนั่งจนเข้าไปสู่ที่ว่างเปล่าเหมือนลอยอยู่กลางอวกาศ ไม่รู้ว่าที่นั้นคือที่ไหนแต่รู้ตัวว่านั่งอยู่ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง อยู่ในนั้นไม่เมื่อยไม่เบื่อไม่วุ่นวายไม่มีขันธ์ทั้งห้ามารบกวน
เป็นสภาวะที่จิตมันเข้าฌานครับ เป็นอาการของฌาน4
อากาศานัญจายตนะ ฌานค่ะ
@@supanutmanit8515 ได้จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ8จจจจจจจจจจจจ8จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ
อย่าติดความสงบเพราะหลงไหลในความสงบหรือจิตหลบ ให้กำหนดให้จิตเบาโปร่งโล่งสบายเปรียบดังการกระทำที่ว่าด้วยความบริสุทธิ์ใจ จะเป็นเช่นไร ให้เข้าถึงความรู้สึกนั้นเช่นไร มีสติอยู่ต่อหน้าปัจจุบันอย่าประมาทอย่าขาดสติในปัจจุบันแล้วให้อบรมจิตอย่าสร้างภาพมายาเพราะจิตจะหลอกและไปในสิ่งที่ตรงข้ามกับภายนอกเสมือนโลกคู่ขนานเสมอ มิเช่นนั้นจะหลงมายาของจิตที่สร้างมา อย่าลืมว่าจิตนี้ไม่มีตัวตนค่ะ
ขออภัย❤
กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ
www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
ขออนุโมธนาสาธุ.......
อนุโมทนา สาธุุครับ
ขออนุโมธนาสาธุ สาธุ สาธุ
สาธุขอนอบน้อมใสเกล้าเกสารสพระธรรมแท้ของพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า.อุปมาดั่งเปิดของที่ปิดและหงายของที่ควม.ขอนอบน้อมอนุโมทนาสาธุการแด่ทุกท่านผู้จัดทำด้วยความบริสุทธิ์ใจอนุภาพใดที่เกิดแต่การได่สดับขอให้ทุกท่านมีส่วนได้อนิสงค์ทุกท่านกราบขอบพระคุณ
อนุโมทนาสาธุ
สาธุสาธุทา่นผู้จัดทำ
สาธุ อนุโมทนามิ
ขอบคุณมากๆๆครับ สาธุ สาธุ สาธุ
กราบนมัสการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธสาวกทุกพระองค์ กราบนมัสการพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และกราบนมัสการพระสงฆ์ผู้นำพาให้ศาสนาเจริญมาจนถึงทุกวันนี้ น้อมจิตระลึกพร้อมด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ด้วยใจที่เบิกบาน บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สงบ สะอาด สว่าง
ผานิต พร้อมประเสริฐ สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
感恩佛陀的大恩大德
สาธุ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
Anumodana..Sadhu! From The Houston Family U.S.A.
สาธุครับ @สติจำเป็นจริงๆเลย🌝🌝🌝
ระลึกนึกคิดตั้งจิตใจอธิษฐาน...
+ชนสิทธิ์ อาภัสระนนท์ อุทิศบุญกุศลไปให้ทั่วถึงกันทั้งหมดเทอญและไม่มีที่สิ้นสุดตลอดไป...
ขอความอับจนเงินตราจงสูญสิ้นไปเทอญขออธิษฐานจิตพุทธบารมี....
ขอบคุณมากครับ ที่นำมาลง
กราบสาธุครับ
จะลองทำดู สาธุ
สาธุ ขอรับ..
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ
สาธุค่ะ
ขอบคุณมากๆๆครับ
สาธุสาธุสาธุค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ :)
สาธุๆ ปล่อยวางว่างเปล่า
ชอบมากเลยจ้า
สาธุเอวัง
รู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบัน
ขอบพระคุณครับ สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ
กราบอนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณค่ะ
สาธุนี้คือความหลุดพ้นของสรรพสัตว์โดยแท้จริง...
ขอบคุณครับ สาะธุ
กราบสาธุ
สาธุๆๆๆๆๆๆ
สาธุขอบคุณครับ
ขออนุโมทนากันท่านผู้กระทำการเผยแพร่พระธรรม 🙏🙏🙏
Thankyou for The Dharma, but where did you get the pictures, they're really beautiful
ขออนุโมทนาสาธุการครับ
สาธุขอรับ
สาธุค่ะ ^_^
สาธุ
สาธุต่ะ
ทำให้ใจสงบเยอะ
รูป เจตสิก จิต นิพพาน / กาย เวทนา จิต ธรรม แนวเส้นเข้า แนวเส้นออก.
เสียงอ่านพระอานน ทำเสียงเป็นสตรีเพศไปได้ละ่ครับ
,มีโฆษณาด้วย
ได้ฟังธรรมข้อนี้มองทะลุปรุโปร่งของชีวิต
การฝึกสติปัฏฐานสูตร ตามพระไตรปิฎก พุทโธวาท ทั้ง4ฐาน
สาทุ สาทุ สาทุ
11/03/2557 สาธุ สาธุ สาธุ
ขอพระธรรมเป็นทีี่พึ่งให้ถึงธรรม
สาธู สาธุ สาธุ ( - /\ - )
มีแ่สูตรใหม่ มีแต่สูตรใหญ่
มหาสติปัฏฐานสูตร: ruclips.net/video/70cgMDBOa90/видео.html
ฟังแล้วมีความสุขใจอย่างล้นเลือ
อะไรไม่เที่ยง ขันธ์ 5 แต่ทำไม มหาสติถึงเที่ยง 😊ใบ้ให้แล้วนะ มนุษย์
หงอก บางปะกอกวิทยาคมจบรุ่น48 สาธุ ไทย สาธุ เมียตาเปียก ซ.พระราม2/23 สาธุ กรุงเทพ สาธุ เชียงใหม่ สาธุ ชลบุรี สาธุ ประจวบคีรีขันธ์ สาธุ สมุทรปราการ สาธุ นราธิวาส สาธุ สมุทรสาคร สาธุ ปทุมธานี สาธุ นนทบุรี สาธุ สงขลา สาธุ สระแก้ว สาธุ ภูเก็ต สาธุ นครปฐม สาธุ ระยอง สาธุ เชียงราย สาธุ นครราชสีมา สาธุ สุพรรณบุรี สาธุ อุดรธานี สาธุ พระนครศรีอยุธยา สาธุ ขอนแก่น สาธุ อุบลราชธานี สาธุ ราชบุรี สาธุ ลำปาง สาธุ ลำพูน สาธุ ฉะเชิงเทรา สาธุ พิษณุโลก สาธุ สุราษฎร์ธานี สาธุ นครสวรรค์ สาธุ สระบุรี สาธุ กาญจนบุรี สาธุ จันทบุรี สาธุ บุรีรัมย์ สาธุ ปราจีนบุรี สาธุ ลพบุรี สาธุ ชุมพร สาธุ นครศรีธรรมราช สาธุ ศรีสะเกษ สาธุ ตาก สาธุ กระบี่ สาธุ แพร่ สาธุ เพชรบูรณ์ สาธุ สุรินทร์ สาธุ มหาสารคาม สาธุ นครพนม สาธุ ร้อยเอ็ด สาธุ ชัยภูมิ สาธุ สิงห์บุรี สาธุ หนองบัวลำภู สาธุ สกลนคร สาธุ กำแพงเพชร สาธุ พะเยา สาธุ ตราด สาธุ ตรัง สาธุ แม่ฮ่องสอน สาธุ อุตรดิตถ์ สาธุ หนองคาย สาธุ สุโขทัย สาธุ อ่างทอง สาธุ พังงา สาธุ ยโสธร สาธุ อำนาจเจริญ สาธุ นครนายก สาธุ กาฬสินธุ์ สาธุ เลย สาธุ สมุทรสงคราม สาธุ อุทัยธานี สาธุ ปัตตานี สาธุ พัทลุง สาธุ บึงกาฬ สาธุ ชัยนาท สาธุ น่าน สาธุ มุกดาหาร สาธุ พิจิตร สาธุ ยะลา สาธุ ระนอง สาธุ สตูล สาธุ×3
🙏🏻🙏🏻🙏🏻
"ผู้ใดกล่าวอยู่ว่า สติปัฏฐาน๔ คือกองกุสลาสี ผู้นั้นย่อมกล่าวอยู่โดยถูกต้อง " กองกุศลที่แท้จริง คือ สติปัฏฐาน๔ นี่เอง
ชอบๆๆ
กราบ…สาธุ
..สาธุ….ที่…30…พฤษภาคม…2566..นา❤
มหาสติปัฏฐานสูตร
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมา
สทัมมะ ณ ที่นั้น พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ วามบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและ
ปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
พระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
จบอุทเทสวารกถา
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ
ออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้
กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด
กอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของ
นายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า
เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อม
สำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจ
เข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ
เกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิด
ขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และ
ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอานาปานบรรพ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน
ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการ
อย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายใน
บ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอ
ที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอิริยาปถบรรพ
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการ
ถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและ
จีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึก
ตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก
เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบสัมปชัญญบรรพ
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้น
เท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มี
อยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มี
ปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าว
สาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่ว
เหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่
พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า
มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก
เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบปฏิกูลมนสิการบรรพ
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่
ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่
แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่
ตามปรกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบธาตุมนสิการบรรพ
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลือง
ไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง
เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกิน
อยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อม
เข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ
เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็น
กายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้ง
ความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่
ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่น
อะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง นี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
[๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
[๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้
ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูก
มือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูก
สะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง
กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทาง
หนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อม
เข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ
เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็น
กายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้ง
ความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย
อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่
แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ ฯ
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า
ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายใน
กายทั้งภายในภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความ เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก
เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ
จบนวสีวถิกาบรรพ
จบกายานุปัสสนา
--------------------------
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร เล่า ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ
เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกข
เวทนามี อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ
เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขม
สุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
ในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียง
สักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่ แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
จบเวทนานุปัสสนา
----------------------
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโม
หะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิต
ฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้
ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิต
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติ
ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้
อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
จบจิตตานุปัสสนา
------------------------
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร เล่า ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา เห็นธรรมในธรรมคือ
นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กาม
ฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์
ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาท
ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่
เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้
ด้วยประการใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการ
ใด ย่อม รู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีน
มิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะ
ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่ เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อ อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา
หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจ
กุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อ วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉา
ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยัง
ไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสีย
ได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการ
ใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายใน
บ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้ง
มั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ
ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ
จบนีวรณบรรพ
--------------------
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทาน
ขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้
เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
อย่างนี้ความดับ แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้ง
มั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ
จบขันธบรรพ
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะ
ภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็น
ที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม
รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อม
รู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและ
ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น
ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า
อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภาย
นอก ๖ อยู่ ฯ
จบอายตบรรพ
--------------------
[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติ สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย อีกอย่าง
หนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่
ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย
ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อม
รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญ
บริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน
ทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อม
ในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ
จบโพชฌงคบรรพ
จบภาณวารที่หนึ่ง
[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔
อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์
แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับ
สิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้
อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่ง
ลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่า
สัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง เป็นเกลียว
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้
เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหาย
ไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก
ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้
ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่
ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ บุคคลผู้ประกอบด้วย
ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ เสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของ
บุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่ง
พร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่
น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล
ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความ
ประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่
พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนา
ความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้อง
หญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่ง
ที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิด
แก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ เกิดเป็นธรรมดา ขอ
ความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ
เจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความ
ตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึง
เราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทว
ทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อ
ว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความ
เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิด
ในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิด
ที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน โลก ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสส
ชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อ
จะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็น
ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็น
ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับ
โดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มี อาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหา
นั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่
เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล จะละ
ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ
ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสส
ชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา
เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ
จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม ตัณหา เป็นที่
รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรค
มีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมา
อาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่
พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของ
ที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จ
การเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละ
อกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่
ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า
สัมมาวายามะ ฯ
สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา สมาธิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ
เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ
ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา
------------------------
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด
๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมี
อุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใด
ผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือน
ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...
๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น พระอนาคามี ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อ
ล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้
แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนา
มาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุ
เหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
----------------------------
สวัสดีคะ พี่ หนูขอรบกวน ขอดูดบุญให้ประเทศต่างๆ วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มบุญให้กับทุกประเทศ ให้หนีโควิด ขอโทษพี่ๆไว้ก่อนเลยถ้าทำให้ ลำบาก
สมุทรสาคร อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
ไทย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
อินเดีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
โลก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
สหรัฐอเมริกา อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
สเปน อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
อิตาลี อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
เยอรมนี อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
สหราชอาณาจักร อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ ฝรั่งเศส อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ ตุรกี อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ อิหร่าน อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ จีน อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ รัสเซีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บราซิล อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เบลเยียม อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุแคนนาดา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เนเธอร์แลนด์ อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ สวิตเซอร์แลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อินเดีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โปรตุเกส อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เอกวาดอร์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เปรู อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุไอร์แลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สวีเดน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ซาอุดีอาระเบีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ออสเตรีย อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ อิสราเอล อนุโมทนาสาธุ สาธุสาธุสาธุ เม็กซิโกอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ญี่ปุ่นอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ชิลีอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สิงคโปร์อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ปากีสถานอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โปแลนด์อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เกาหลี อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โรมาเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เบลารุส อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ กาตาร์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อินโดนีเซีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เดนมาร์ก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
ยูเครน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เซอร์เบียร์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ นอร์เวย์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ประเทศเช็กเกีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ฟิลิปปินส์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ออสเตรเลีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สาธารณรัฐโดมินิกัน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ มาเลเซีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ปานามา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โคลอมเบีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บังกลาเทศ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ฟินแลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ แอฟริกาใต้ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อียิปต์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โมร็อคโก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อลักเซมเบิร์ก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อาร์เจนตินา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ แอลจีเรีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ มอลโดวา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ประเทศไทย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ คูเวต อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บาห์เรน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ กรีซ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ คาซัคสถาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ฮังการี อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โครเอเชีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ โอมาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ไอซ์แลนด์ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อิรัก อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ เอสโตเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อาร์เมเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อาเซอร์ไบจาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ แคเมอรูน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ ลิทัวเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สโลวีเนีย อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ สโลวะเกียอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ อัฟกานิสถาน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ มาซิโดเนียเหนือ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ คิวบา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ กานา อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ บัลแกเรียอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
จีน อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธ
แม่ประทุม สาธุอนุโมทนาสาธุ
แม่ประทุมอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
แม่ประทุมอนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุ
ปังปอนด์อนุโมทนาสาธุเปาอนุโมทนาสาธุ
แดง วัดเขาถ้ำ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
แม่องค์ขายส้มตำ อนุโมทนาสาธุสาธุสาธุสาธุ
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏 🙏🙏🙏
I อนุโมทนาสาธุ😀😃😄😁😆😅🤣😂🙂🙃😉😊😇🥰😍🤩😘😗☺😚😙😋😛😜🤪😝🤗🤭🤫🤔🤨😑😶😏😒🙄😬🤥😌😔😪🤤😴😷🤠🥳🧐😕😟🙁☹😮😯😲
กราบ พระพุทธองค์ กราบพระธรรมคำสอน กราบพระสงฆ์สาวก ฟังธรรมไปปฏิบัติตามไป จิตแจ่มใสใจเบิกบาน ธรรมรักษาครับ ออนุโมทนา. สาธุ สาธุ สาธุ
สาธุครับ
กราบพระพุทธองค์ กราบพระธรรมคำสอน กราบพระสงฆ์สาวก สวัสดีครับท่านผู้เจริญ จิตแจ่มใส ใจเบิกบาน ธรรมรักษา พระคุ้มครอง ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
กราบ. กราบ. กราบ
การฝึกฝนเริ่มผลิผลแล้ว...ไม่ฝืนไม่บังคับ เป็นไปตามธรรมชาติ
กราบสาธุสาธุเจ้าค่ะกราบสาธุสาธุค่ะ❤❤ ❤❤
มีเรามีเขา มีของของเรามีของของเขา ทุกข์ย่อมเกิดอยู่เนืองๆ เมื่อหมดเราหมดเขา หมดของของเราหมดของของเขา ทุกข์ย่อมไม่เกิด ผลนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมี มหาสติปัฐานนี้เป็นเหตุ สาธุ สาธุ สาธุ
กราบคุณพระรัตนตรัย คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครูบาอาจารย์ ขอบุญรักษาทุกๆท่านผู้มีศีลด้วยเทอญ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
ขออนุโทนา สาธุค่ะ ขอขอบคุณผู้จัดทำกัลยามิตรที่ดี นำธรรมะมาเผยแพร่ ได้ฝึกฝนจิต เกิดสมาธิ ปัญญาค่ะ ขอเชิญชวน ผู้แสวงหาความสงบ ความสุขที่แท้จริง ร่วมรับฟังค่ะ
ความตั้งมั่นอยู่กับลม รู้กายอยู่ รู้นามอยู่ ตัวรู้เกิดปัญญา สาธุ...สาธุ...สาธุ...
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ
อนุโมทนาสาธุ *** วิชาเอกแห่งโลก ***
กราบสาธุธรรมค่ะ
อนุโมทนาสาธุครับ
สาธุ ภาพประกอบดีมาก ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านที่น้อมธรรมของพระพุทธองค์ไว้ในใจ สาธุ
ขอจงเจริญในธรรม สาธุ
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า-
๑. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
๒. พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.
๓. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ ห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.
ขอบคุนครับที่นำสิ่งดีๆมาให้ฟัง
สาธุ เมื่อไหร่หนอ มนุษย์สัตว์ใหญ่่บนโลกใบนี้ จะเดินตามทางหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียที ธรรมชาติของโลกใบนี้จะได้เป็นธรรมชาติที่เป็นธรรมชาติที่สุด เมื่อมนุษย์ปล่อยวางเสียทุกอย่าง ผ่านไปไม่กี่ทศวรรษ คงหมดสิ้นสัตว์ใหญ่อย่างเช่นมนุษย์เราหนอ ธรรมชาติย่อมละเว้นจากการเบียดเบียน สัตว์เล็กคงมีวิถีชีวิตไปตามวัฎจักรของเขา และเราที่ได้ชื่อว่าสัตว์ชั้นประเสริฐ คงหมดสิ้นกรรมเสียที อยากให้ทุกคนคิดดี พูดดี ทำดี ให้คิดถึงคน อื่นมากกว่าตัวเอง ชาติ ศ่าสนา พระมหากษัตริย์ แบะพระที่ยิ่งใหญ่คือผู้ให้กำเนิดนั่นเอง ^_^
ผมฟังบ่อยมากๆครับ ขอบคุณนะครับ^-^
พุทธศาสนา ค่าล้ำเลิศ ประเสริฐยิ่ง
เป็นสัจจริง ทุกอย่าง อย่าวางเฉย
เมื่อพบแล้ว รัตนะ อย่าละเลย
มัวเฉยเมย หมดโอกาส พลาดของดี
สาธุ สาธุ เจริญพรความจริงที่หาได้โดยตนเองไม่ต้องพึงใครแต่ต้องฝีกฝนตนเองเสมอ ๆ สาธุ เจริญพร
เวลาธรรมะไม่ควรมีโฆษณาเลยทุกๆวีดีโอนะคะ แต่ก็ต้องขอบพระคุณผู้เผยแผ่เพราะเป็นธรรมะที่ดีมาก สาธุค่ะ
ปิติ ที่ได้เป็นอนาคามี แล้วแล้ว
สาธุอนุโมทนามิพระเจ้าค่ะ
ฟังเพลินทำตาม แต่ต้องมาตกใจกับเสียงระฆังคั่นบทที่ดังมากเกินไปทุกที ..ตกใจหมดเลย.. ขอเวอร์ชั่นไม่มีเสียงดนตรีได้ไหมคะ
สาธุ ดีที่สุดครับ
สาธุเจ้าค่ะ ขอความสำเร็จจงเกิดแด่สาธุชนทั้งหลายด้วยเถิด
สาธุสาธุสาธุ......อนุโมทนามิ
ทางนี้เป็นทางสายเดียว....ให้รู้แจ้ง
ชอบและดีมาก
ขอบคุณผู้นำมาโพสค่ะ สาธุ
อนุโมทนา สาธุ เจ้าครับ
ขออนุโมธนา ครับ สาธุ..
สาธุค่ะ อนุโมทนา
อยากได้หมวดสิ่งปฏิกูลเดิมที่มีรูปภาพป่าช้าทั้งเก้าครับเสียงคนพากษ์เดิมๆทำให้จิตนิ่งสงบระงับเร็วครับผมเคยโหลดไว้เมื่อสามปีก่อนและศึกษาเองเกิดจิตตั้งมั่นง่ายบวกกับงดอาหารประเภทเนื้อครับหลังจากนั้นหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่งดอาหารดังกล่าวเหมือนสติไม่ต่อเนื่องรู้ไม่ทันอารมณ์ครับ หากมีข้อชี้แนะเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ
พิจารณาตามนี้ละครับ ผมนั่งจนเข้าไปสู่ที่ว่างเปล่าเหมือนลอยอยู่กลางอวกาศ ไม่รู้ว่าที่นั้นคือที่ไหนแต่รู้ตัวว่านั่งอยู่ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง อยู่ในนั้นไม่เมื่อยไม่เบื่อไม่วุ่นวายไม่มีขันธ์ทั้งห้ามารบกวน
เป็นสภาวะที่จิตมันเข้าฌานครับ เป็นอาการของฌาน4
อากาศานัญจายตนะ ฌานค่ะ
@@supanutmanit8515 ได้จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ8จจจจจจจจจจจจ8จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ
@@supanutmanit8515 ได้จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ8จจจจจจจจจจจจ8จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ
อย่าติดความสงบเพราะหลงไหลในความสงบหรือจิตหลบ ให้กำหนดให้จิตเบาโปร่งโล่งสบายเปรียบดังการกระทำที่ว่าด้วยความบริสุทธิ์ใจ จะเป็นเช่นไร ให้เข้าถึงความรู้สึกนั้นเช่นไร มีสติอยู่ต่อหน้าปัจจุบันอย่าประมาทอย่าขาดสติในปัจจุบันแล้วให้อบรมจิตอย่าสร้างภาพมายาเพราะจิตจะหลอกและไปในสิ่งที่ตรงข้ามกับภายนอกเสมือนโลกคู่ขนานเสมอ มิเช่นนั้นจะหลงมายาของจิตที่สร้างมา อย่าลืมว่าจิตนี้ไม่มีตัวตนค่ะ
ขออภัย❤
กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ
www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
ขออนุโมธนาสาธุ.......
อนุโมทนา สาธุุครับ
ขออนุโมธนาสาธุ สาธุ สาธุ
สาธุขอนอบน้อมใสเกล้าเกสารสพระธรรมแท้ของพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า.อุปมาดั่งเปิดของที่ปิดและหงายของที่ควม.ขอนอบน้อมอนุโมทนาสาธุการแด่ทุกท่านผู้จัดทำด้วยความบริสุทธิ์ใจอนุภาพใดที่เกิดแต่การได่สดับขอให้ทุกท่านมีส่วนได้อนิสงค์ทุกท่านกราบขอบพระคุณ
อนุโมทนาสาธุ
สาธุสาธุทา่นผู้จัดทำ
สาธุ อนุโมทนามิ
ขอบคุณมากๆๆครับ สาธุ สาธุ สาธุ
กราบนมัสการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธสาวกทุกพระองค์ กราบนมัสการพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และกราบนมัสการพระสงฆ์ผู้นำพาให้ศาสนาเจริญมาจนถึงทุกวันนี้ น้อมจิตระลึกพร้อมด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ด้วยใจที่เบิกบาน บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สงบ สะอาด สว่าง
ผานิต พร้อมประเสริฐ สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
感恩佛陀的大恩大德
สาธุ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
Anumodana..Sadhu! From The Houston Family U.S.A.
สาธุครับ @สติจำเป็นจริงๆเลย🌝🌝🌝
ระลึกนึกคิดตั้งจิตใจอธิษฐาน...
+ชนสิทธิ์ อาภัสระนนท์ อุทิศบุญกุศลไปให้ทั่วถึงกันทั้งหมดเทอญและไม่มีที่สิ้นสุดตลอดไป...
ขอความอับจนเงินตราจงสูญสิ้นไปเทอญขออธิษฐานจิตพุทธบารมี....
ขอบคุณมากครับ ที่นำมาลง
กราบสาธุครับ
จะลองทำดู สาธุ
สาธุ ขอรับ..
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ
สาธุค่ะ
ขอบคุณมากๆๆครับ
สาธุสาธุสาธุค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ :)
สาธุๆ ปล่อยวางว่างเปล่า
ชอบมากเลยจ้า
สาธุเอวัง
รู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบัน
ขอบพระคุณครับ สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ
กราบอนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณค่ะ
สาธุนี้คือความหลุดพ้นของสรรพสัตว์โดยแท้จริง...
ขอบคุณครับ สาะธุ
กราบสาธุ
สาธุๆๆๆๆๆๆ
สาธุ
ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนากันท่านผู้กระทำการเผยแพร่พระธรรม 🙏🙏🙏
Thankyou for The Dharma, but where did you get the pictures, they're really beautiful
ขออนุโมทนาสาธุการครับ
สาธุขอรับ
สาธุค่ะ ^_^
สาธุ
สาธุต่ะ
ทำให้ใจสงบเยอะ
รูป เจตสิก จิต นิพพาน / กาย เวทนา จิต ธรรม แนวเส้นเข้า แนวเส้นออก.
เสียงอ่านพระอานน ทำเสียงเป็นสตรีเพศไปได้ละ่ครับ
,มีโฆษณาด้วย
ได้ฟังธรรมข้อนี้มองทะลุปรุโปร่งของชีวิต
การฝึกสติปัฏฐานสูตร ตามพระไตรปิฎก พุทโธวาท ทั้ง4ฐาน
สาทุ สาทุ สาทุ
11/03/2557 สาธุ สาธุ สาธุ
ขอพระธรรมเป็นทีี่พึ่งให้ถึงธรรม
สาธู สาธุ สาธุ ( - /\ - )
มีแ่สูตรใหม่ มีแต่สูตรใหญ่
มหาสติปัฏฐานสูตร: ruclips.net/video/70cgMDBOa90/видео.html
ฟังแล้วมีความสุขใจอย่างล้นเลือ
อะไรไม่เที่ยง ขันธ์ 5 แต่ทำไม มหาสติถึงเที่ยง 😊ใบ้ให้แล้วนะ มนุษย์
หงอก บางปะกอกวิทยาคมจบรุ่น48 สาธุ ไทย สาธุ เมียตาเปียก ซ.พระราม2/23 สาธุ กรุงเทพ สาธุ เชียงใหม่ สาธุ ชลบุรี สาธุ ประจวบคีรีขันธ์ สาธุ สมุทรปราการ สาธุ นราธิวาส สาธุ สมุทรสาคร สาธุ ปทุมธานี สาธุ นนทบุรี สาธุ สงขลา สาธุ สระแก้ว สาธุ ภูเก็ต สาธุ นครปฐม สาธุ ระยอง สาธุ เชียงราย สาธุ นครราชสีมา สาธุ สุพรรณบุรี สาธุ อุดรธานี สาธุ พระนครศรีอยุธยา สาธุ ขอนแก่น สาธุ อุบลราชธานี สาธุ ราชบุรี สาธุ ลำปาง สาธุ ลำพูน สาธุ ฉะเชิงเทรา สาธุ พิษณุโลก สาธุ สุราษฎร์ธานี สาธุ นครสวรรค์ สาธุ สระบุรี สาธุ กาญจนบุรี สาธุ จันทบุรี สาธุ บุรีรัมย์ สาธุ ปราจีนบุรี สาธุ ลพบุรี สาธุ ชุมพร สาธุ นครศรีธรรมราช สาธุ ศรีสะเกษ สาธุ ตาก สาธุ กระบี่ สาธุ แพร่ สาธุ เพชรบูรณ์ สาธุ สุรินทร์ สาธุ มหาสารคาม สาธุ นครพนม สาธุ ร้อยเอ็ด สาธุ ชัยภูมิ สาธุ สิงห์บุรี สาธุ หนองบัวลำภู สาธุ สกลนคร สาธุ กำแพงเพชร สาธุ พะเยา สาธุ ตราด สาธุ ตรัง สาธุ แม่ฮ่องสอน สาธุ อุตรดิตถ์ สาธุ หนองคาย สาธุ สุโขทัย สาธุ อ่างทอง สาธุ พังงา สาธุ ยโสธร สาธุ อำนาจเจริญ สาธุ นครนายก สาธุ กาฬสินธุ์ สาธุ เลย สาธุ สมุทรสงคราม สาธุ อุทัยธานี สาธุ ปัตตานี สาธุ พัทลุง สาธุ บึงกาฬ สาธุ ชัยนาท สาธุ น่าน สาธุ มุกดาหาร สาธุ พิจิตร สาธุ ยะลา สาธุ ระนอง สาธุ สตูล สาธุ×3
🙏🏻🙏🏻🙏🏻
"ผู้ใดกล่าวอยู่ว่า สติปัฏฐาน๔ คือกองกุสลาสี ผู้นั้นย่อมกล่าวอยู่โดยถูกต้อง " กองกุศลที่แท้จริง คือ สติปัฏฐาน๔ นี่เอง
ชอบๆๆ