ย้อนตำนานสะพานพระราม6 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก อายุเกือบ 100 ปีแล้ว

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 27 сен 2024
  • สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465 เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อกัน โดยให้บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา เนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 บาทแลกได้ 5 ฟรังก์) เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท) ในเวลานั้นเงินบาทสยามผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย โดยค่าก่อสร้างเท่ากับ 2,714,113.30 บาท
    สะพานสร้างเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าสะพานพระราม 6 ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้ามเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2470 แล้ว) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้รถจักรไอน้ำ " บอลด์วิน " ล้อแบบแปซิฟิก หมายเลข 226 ทำขบวนเสด็จ
    ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก ในที่สุดช่วงกลางสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้การประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป) และบริษัทคริสเตียนนี แอนด์ นีลเส็น (ไทย) จำกัด (ผู้รับเหมาเดนมาร์กที่ภายหลังได้เป็นผู้รับเหมาไทยเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพราะย้ายฐานมาเมืองไทย มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ) ในระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพระราม 6 หลังจากซ่อมแซมแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้า " ซูลเซอร์ " หมายเลข 562 ทำขบวนเสด็จ
    สะพานสร้างตามแบบ Cantilever ประกอบด้วยสะพานเหล็ก 5 ช่วง ส่วนหนึ่งเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กให้รถยนต์ทุกชนิดผ่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นทางรถไฟ พร้อมทางเดินเท้า 2 ด้าน ตัวสะพานมีความยาว 442.08 เมตร กว้าง 10 เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 10 เมตร ดังนั้นเรือขนาดธรรมดาสามารถลอดผ่านได้
    ปัจจุบันสะพานพระราม 6 ปิดการจราจรส่วนที่เป็นถนน เมื่อมีการก่อสร้าง สะพานพระราม 7 ขึ้นเป็นสะพานคู่ขนาน แล้วนำส่วนที่เคยเป็นถนนแปรสภาพเป็นทางรถไฟ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ช่วง ชุมทางบางซื่อ - นครปฐม สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2546
    เนื่องจากสะพานพระราม 6 เป็นสะพานซึ่งถูกออกแบบให้มีทางรถยนต์ขนานคู่ไปกับทางรถไฟมีผลให้ขนาดหน้าตัดของชิ้นส่วนโครงทรัสทั้ง 2 ฝั่งไม่เท่ากัน โดยขนาดหน้าตัดของชิ้นส่วนโครงทรัสฝั่งทางรถไฟ (Railway Side) จะมีขนาดใหญ่กว่าโครงทรัสฝั่งทางรถยนต์ (Highway Side) ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการทุบรื้อทางรถยนต์ขนานคู่ไปกับทางรถไฟบนสะพานออกไป และได้ดำเนินการเสริมกำลัง (Strengthening) โครงทรัสฝั่งทางรถยนต์ (Highway Side) เสริมกำลัง Stringer และ Floor Beam (Cross Girder) อีกทั้ง ติดตั้ง Stringer และวางทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งทางแทนทางรถยนต์ขนานคู่ไปกับทางรถไฟเดิม
    เมื่อปี พ.ศ. 2544 จากการวิเคราะห์และประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างสะพานพระราม 6 โดยกิจการร่วมค้า บริษัท เคทีเอ็ม เครน และบริษัท จีทีแอนด์อาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ปรากฏตามรายงาน “รายงานการตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้างสะพานพระราม 6 โครงการปรับปรุงตรวจสอบและประเมินสภาพสะพานพระราม 6 โดยกิจการร่วมค้า เคทีเอ็ม เครน-จีทีแอนด์อาร์ เสนอการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2544” ใช้วิธีการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างสะพานโดยวิธีการ Working Stress Method ตามมาตรฐานของ AREMA (American Railway Engineering and Maintenance-of-Way Association) Manual for Railway Engineering , 2003 Volume 2 CHAPTER 15 Steel Structures Part 7 Existing Bridges , Section 7.3 Rating for Existing Bridges. พบว่า
    น้ำหนักบรรทุกชนิด DL.15 หรือ น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน วิ่งขบวนรถเพียงทางเดียวทั้ง 2 ทาง (ทางเดิมและทางใหม่) และวิ่งขบวนรถพร้อมกันทั้ง 2 ทาง โครงสร้างสะพานสามารถรับ น้ำหนักขบวนรถได้ อย่างปลอดภัย
    น้ำหนักบรรทุกชนิด DL.16 หรือ น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน วิ่งขบวนรถเพียงทางเดียวบนทางเดิมหรือทางใหม่ โครงสร้างสะพานสามารถรับ น้ำหนักขบวนรถได้ อย่างปลอดภัย หากวิ่งขบวนรถพร้อมกันทั้ง 2 ทาง มีบางชิ้นส่วนของโครงสร้างไม่สามารถรับ น้ำหนักได้ จำเป็นต้องเสริมกำลัง
    น้ำหนักบรรทุกชนิด U.20 หรือ น้ำหนักกดเพลา 20 ตัน วิ่งขบวนรถเพียงทางเดียวบนทางเดิม โครงสร้างสะพานสามารถรับน้ำหนักขบวนรถได้ อย่างปลอดภัย หากวิ่งขบวนรถพร้อมกันทั้ง 2 ทาง มีบางชิ้นส่วนของโครงสร้างไม่สามารถรับ น้ำหนักได้ จำเป็นต้องเสริมกำลัง

Комментарии • 43

  • @พันธ์สิงห์-ฤ2ฤ
    @พันธ์สิงห์-ฤ2ฤ 2 года назад +2

    เมื่ออดีต คราวพำนักอยู่ริมเจ้าพระยา ฝั่งวัดสร้อยทอง ชอบมองสะพานพระหกสะพานโครงสร้างเหล็กมีรางรถไฟทางเดียว ส่วนที่เหลือให้รถยนต์วิ่งสวนทางกัน เวลาขบวนรถไฟวิ่งผ่าน จะได้ยินเสียงกึงกัง ตลอด คุ้นหูครับ ตอนนี้ย้ายเคหะสถานออกมาแล้ว คิดถึงครับ

  • @eimmybb_five-o7899
    @eimmybb_five-o7899 4 года назад +6

    สะพานระดับตำนานของชาติเราคร้าบ

  • @seo2981
    @seo2981 4 года назад +2

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูแวะ มาชมสะพาน ประวัติศาสตร์ ของไทย ที่สวนงาม นะคะ ขอบคุณที่แชร์มานะคะ~~^^🙏

    • @PaNaRa_007
      @PaNaRa_007  4 года назад

      ขอบคุณครับ

  • @ฤทธิภูมิทวยหาญ

    ให้ความรู้ดีมากครับ

  • @nazdizen8275
    @nazdizen8275 4 года назад +3

    เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง

  • @leedk.1717
    @leedk.1717 3 года назад +1

    คิดถึงสมัยเก่าๆ ตอนนี้ เราเอง อายุ 57 แล้ว

    • @วันเดือน-ว1ศ
      @วันเดือน-ว1ศ 11 месяцев назад +1

      ปีเดียวกันเลยครับ ผมก็เคยอยู่ที่นั่น

    • @leedk.1717
      @leedk.1717 10 месяцев назад

      @@วันเดือน-ว1ศ ปัจจุบันนี้ศาลเจ้าพ่อพระราม6ยังอยู่ไหมค่ะเพราะตัวเราจากประเทศไทยมานานแล้ว

  • @adirekthianjang9766
    @adirekthianjang9766 4 года назад +2

    ขอบคุณสำหรับประวัติการก่อสร้างครับ สมัยเด็กนั่ง ขสมก 103 108 จาก บขส สายใต้ข้ามพระราม6 ไป นนทบุรีประจำ

    • @PaNaRa_007
      @PaNaRa_007  4 года назад +2

      ทันใช้สะพานนี้ก็เข้าวัยกลางคนแล้วล่ะ 5555 สมัยนั้นรถติดมากมายใช่มั๊ยครับสะพานนี้

    • @adirekthianjang9766
      @adirekthianjang9766 4 года назад +1

      @@PaNaRa_007 เท่าที่จำได้ก็ตั้งแต่หน้า กฟภ เป็นป้ายรถพอขึ้นสะพานก็ตามกันพอถึงหน้าศาลเจ้าพ่อก็เลี้ยวซ้ายลงป้ายแรกก็พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 55เวลามันผ่านไปเร็วเสมอ

    • @kittenastrophy5951
      @kittenastrophy5951 2 года назад +1

      @@PaNaRa_007 ผมต่อรถ103 หน้าสายใต้เหมือนกัน ถ้าวันไหนขึ้น 108 ที่อู่หน้า ร.พ.เกษมราษฎร์ไม่ทัน อยู่บางแคต้องออกจากบ้านก่อน 6.00 ไม่งั้นไม่ทันเรียน ติดนิสัย ไม่ชอบใส่บาตรเช้าๆ เพราะออกจากบ้านก่อนพระมาทุกวัน

  • @teegood
    @teegood 4 года назад +2

    สะพานคนอกหักนะนั่น
    เดินขึ้นสะพานพระรามหกเคยฟังมั้ยคร้าบทันมั้ยคับ

  • @ya3704
    @ya3704 Год назад +1

    เดินข้ามไปเรียนวิมุติทุกวัน จากซอยสีน้ำเงินเดินทุกวันไปกลับ ย้อนมาดูก็ว่าเราก็ถึกทนมากมายเหมือนกัน

    • @วันเดือน-ว1ศ
      @วันเดือน-ว1ศ 11 месяцев назад

      คิดถึงอดีดเลยครับ ผมเรียนวัดสร้อยทอง แต่บ้านอยู่หน้าวัดเสาหิน บางทีมาเล่นน้ำแถวสะพาน ข้างวัดสร้อยทอง

  • @pimjaik
    @pimjaik 2 года назад +2

    น่าจะหารูปภาพสะพานแบบแรกที่โดนระเบิด สะพานปัจจุบันเป็นสะพาน ที่สร้างใหม่บนฐานเดิม ผมเคยเห็นไม่ทราบเป็นหนังสือเล่มใด

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 года назад +2

    ทราบหรือไม่ ?
    สะพานพระราม ๖ เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศไทย
    ในพุทธศักราช ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายใต้ บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีขนาดความกว้างของทาง ตลอดจนรูปส่วนของรถจักรและล้อเลื่อนที่ใช้บนทางรถไฟแตกต่างกัน ส่งผลให้ต้องสะสมเครื่องอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณปีละหลายล้านบาท
    แต่หากทำให้รถจักรและล้อเลื่อนมีขนาดเดียวกันได้แล้ว การสะสมเครื่องอะไหล่ก็จะลดลงไปด้วย อีกทั้งการตั้งโรงงานซ่อมบำรุง ก็จะสามารถสร้างรวมกันได้เพียงแห่งเดียว ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานซ่อมบำรุงเพิ่มสำหรับรถจักร ๒ ชนิด และ ๒ ขนาด ทำให้ประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น
    เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จตามแนวพระราชดำริ จำเป็นที่จะต้องเชื่อมทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายใต้ ให้ติดต่อกันโดยวิธีที่สะดวกที่สุด
    ด้วยเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่บริเวณเหนือวัดละมุด (วัดวิมุตยาราม) และวัดสร้อยทอง โดยมีความยาว ๔๔๓.๖๐ เมตร และความกว้าง ๑๐ เมตร แบ่งพื้นที่ของสะพานเป็นทางรถไฟส่วนหนึ่ง ทางหลวงสำหรับรถยนต์ส่วนหนึ่ง และทางเดินเท้าอีกส่วนหนึ่ง โดยบริษัท Les Etablissement Dayde ของประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง
    การก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานไว้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างว่า “สะพานพระราม ๖” เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งรัชสมัย ด้วยพระราชดำริมุ่งหมายที่จะพระราชทานความสะดวกแก่ประชาชนในการคมนาคมขนส่ง
    สะพานพระราม ๖ ก่อสร้างสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสในพิธีเปิด อันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสะพานพระราม ๖ ความตอนหนึ่งว่า
    “…การสร้างสะพานพระราม ๖ นี้ ควรนับได้ว่าเป็นงานใหญ่อย่างหนึ่งที่มีเป็นครั้งแรกในเมืองไทย และไม่เฉพาะแต่เชื่อมทางรถไฟเท่านั้น ยังมีทางสำหรับคนเดิน และสำหรับยวดยานพาหนะอย่างอื่นสัญจรไปมาเตรียมไว้ด้วย ต่อไปเมื่อสร้างถนนหนทางขึ้นแล้ว ยานพาหนะอื่นๆ ก็จะเดินติดต่อถึงกันได้สะดวกทั้งสองฟากลำน้ำระหว่างพระนครกับธนบุรี เมื่อได้ระลึกถึงพระราโชบายอันเป็นสาธารณประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ดั่งนี้แล้ว กระทำให้เป็นที่เพิ่มพูนพระบารมีแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงโปรดให้เริ่มริการสร้างสะพานนี้เป็นอเนกประการ
    สะพานพระราม ๖ นี้ ต้องนับว่าเป็นสิ่งหนึ่งในงานอันสำคัญที่สุดแห่งรัชกาลของพระองค์ จึ่งสมควรเป็นพระราชอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงพระองค์โดยแท้…”
    ต่อมาในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สะพานพระราม ๖ ถูกระเบิดทำลายจนเสียหายอย่างหนัก ครั้นเมื่อสิ้นสุดสงคราม รัฐบาลจึงได้ดำเนินการซ่อมแซมใหม่ และมีพิธีเปิดสะพานอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ โดยใช้เป็นสะพามเชื่อมทางรถไฟสายเหนือและสายใต้ ที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน ช่วยอำนวยความสะดวกในการคมนาคมของประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน

    • @PaNaRa_007
      @PaNaRa_007  3 года назад +1

      ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ

  • @turrorider
    @turrorider 2 года назад +1

    ผมศิษย์เก่าเทคโนโลยีพระรามหก เรียนปี 2531

  • @bellzaza33
    @bellzaza33 4 года назад +1

    สะพานจุลจอมเกล้าเป็นสะพานรถไฟที่มีถนนในสะพานเดียวกัน ข้ามแม่น้ำตาปี ที่สุราษฎร์ และเคยโดนทิ้งระเบิดจนสะพานหักถล่มลงมา ปัจจุบันมีสะพานจุล 2 มีขนาด 4 เลน แล้วทางรถเก่ายังสามารถใช้งานได้ปกติคับปัจจุบันมีโครงการรางคู่คงน่าเสียดายมากคับ

    • @PaNaRa_007
      @PaNaRa_007  4 года назад

      ใช่ๆคล้ายๆกับสะพานพระรามหกนี่เลยครับ

  • @SPIDERMAN-pf5in
    @SPIDERMAN-pf5in 2 года назад +2

    สมัยก่อนนั่งสาย 203 ผ่าน...😊

    • @วันเดือน-ว1ศ
      @วันเดือน-ว1ศ 11 месяцев назад

      ถ้าผมจำไม่ผิด 203 น่าจะวิ่งจากนนทบุรี ไปสนามหลวง

  • @kittenastrophy5951
    @kittenastrophy5951 2 года назад

    ผ่านไปผ่านมาตั้งแต่เด็ก จนสะพานพระรามเจ็ดสร้างมาแทน ศาลที่ไปถ่ายมาพอไม่ได้ผ่านประจำก็ลืมว่ามี

  • @kajohnssru2282
    @kajohnssru2282 4 года назад +1

    👍👍👍

  • @吉井和夫-f8b
    @吉井和夫-f8b 3 года назад +1

    鉄橋管理詰所がお釈迦様に乗っ取られた!!意味不明

  • @SuwitManas
    @SuwitManas 4 года назад +4

    มันคือตำนาน ที่น่าจดจำครับ

  • @theerathawatphunbumphen8205
    @theerathawatphunbumphen8205 2 года назад +1

    สมัยก่อนมีถนนรถข้ามเคียงคู่กัน

  • @happylife1825
    @happylife1825 3 часа назад

    2.20 - 2.30 เห็นรถยบต์วิ่งถอยหลังถนน

  • @ขุนจอมคีรี-ธ4บ
    @ขุนจอมคีรี-ธ4บ 4 года назад +2

    เมื่อก่อนผมขึ้นไปวิ่งออกกำลังกายบนนั้นทุกวันเลยครับ

    • @PaNaRa_007
      @PaNaRa_007  4 года назад +1

      ตอนนี้วิ่งขึ้นสะพานพระรามเจ็ดง่ายกว่าครับ

  • @ติ้นางาดํา-ด6ฬ
    @ติ้นางาดํา-ด6ฬ 2 года назад +1

    ตอนป.4ป.5ศาลมีแค่ศาลเดียว และยังใม่มีศาลาบังแดดด้วย คุณ เสมอสะพานพระราม6ที่คถ

  • @anakinskywalker7444
    @anakinskywalker7444 4 года назад +2

    สุดยอด

  • @pinfinitychannel3610
    @pinfinitychannel3610 4 года назад +2

    สมัยวัยรุ่น ชอบมาเดินเล่นดูพระอาทิตย์ตกดินแถวนี้ อากาศช่วงเย็นๆสบายๆค่ะ

    • @SPIDERMAN-pf5in
      @SPIDERMAN-pf5in 2 года назад

      บรรยากาศดีมาก...😊

  • @ฉันรักประเทศไทย-ฑ1ซ

    ยอดเยี่ยมเลยจ้า

  • @คนพเนจร-ม4ป
    @คนพเนจร-ม4ป Год назад

    ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ

  • @นะโม-ฌ3ฝ
    @นะโม-ฌ3ฝ Год назад

    ชอบตำนาน

  • @somchaichonson8348
    @somchaichonson8348 2 года назад

    เห็นมาตั้งแต่เด็ก..คิดถึงชึวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากับชีวิตและการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองตั้งแต่ทีวีขาวดำติดต่อกับเพื่อนพี่น้องต่างจังหวัดด้วยจ.ม.เร็วหน่อยก็โทรเลขและโทรศัพย์ร่นแรกแบบบหมุนตามมาตอนนั้นยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนทุกวันนี้..ชีวิตต้องดำเนินต่อไป..ตราบเท่ายังมีลมหายใจในวัย62ฝากไว้บนแผ่นดินไทยที่เราเกิด....รักแผ่นดินไทยและรากเหง้าที่ดีงาม...

    • @PaNaRa_007
      @PaNaRa_007  2 года назад +2

      ทุกอย่างล้วนมีเรื่องราว​และต้องปรับไปตามโลกตามยุคตามสมัย​ พอเราย้อนอดีตไปบางทีก็มีความสุขนะครับ

  • @leedk.1717
    @leedk.1717 3 года назад

    สวยงามมากค่ะ